fbpx
เฮลท์แลบ คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
Follow us :
Hepatitis B Virus

การดูแลตนเอง เมื่อเป็น ไวรัสตับอักเสบ บี

หลังจากที่เราทำความรู้จักกับ ไวรัสตับอักเสบ บี กันไปแล้ว เรามาต่อกันเรื่องการดูแลตนเองและการรักษาในผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเรื้อรัง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

1. กรณีที่ตรวจพบเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) มากกว่า 6 เดือน แต่ไม่มีการ อักเสบของตับ การดูแลจะเหมือนกับการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเฉียบพลัน แต่อาจจะต้องตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของตับ (AST, ALT) ทุก 3-6 เดือน  เพื่อดูว่ามีการทำลายเซลล์ตับเพิ่มขึ้นหรือไม่

2.กรณีที่ตรวจพบเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) มากกว่า 6 เดือน และมีข้อบ่งชี้ต่าง ๆ ดังนี้

– ปริมาณเชื้อ (HBV DNA) มากกว่าเท่ากับ 2,000 IU/ml

– ไม่มีโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุหลักของตับอักเสบ

– ระดับเอนไซม์ตับ (ALT) มากกว่าหรือเท่ากับ 2 เท่าของคนปกติ อย่างน้อย 2 ครั้ง ในระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป

– ตรวจพบว่ามีพังผืดในตับตั้งแต่ระดับปานกลางถึงมาก เทียบเท่ากับ Fibrosis stage Metavir มากกว่า 2

– มีลักษณะอาการทางคลินิกที่บ่งชี้ว่ามีตับแข็งเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ดังกล่าวจึงควรได้รับการรักษา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ยาฉีดกลุ่มอินเตอร์เฟอรอน ออกฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ไปทำลายเชื้อไวรัสเอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีโอกาสหาย 30-40% เมื่อทำการรักษาด้วยวิธีนี้ครบเป็นเวลา 1 ปี แต่ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือ ราคาแพงและมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เช่น มีไข้ หนาวสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมงหลังฉีดยา และดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยาบวมแดงและอาจเกิดเนื้อตาย ผมร่วง การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ ซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ยายังมีผลไปกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เกิดภาวะซีด ติดเชื้อและเลือดออกง่าย หากใครประสงค์ที่จะใช้วิธีนี้ในการรักษา ควรอยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์
  • ยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส ทำให้การอักเสบของตับลดลง ยากลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาฉีดกลุ่มอินเตอร์เฟอรอน ดังนั้นโอกาสที่จะหายก็มีน้อยกว่าและต้องทานยาไปตลอดชีวิต หากหยุดยาเมื่อไหร่ ไวรัสตับอักเสบ บี ก็จะกลับมาเมื่อนั้น

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการใช้ยาในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี จึงไม่ได้ทำให้หายจากโรคได้ 100% แต่เป็นเพียงการรักษาเพื่อลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส ลดการอักเสบของตับ เพื่อป้องกันไม่ให้ตับอักเสบเรื้อรัง จนเกิดภาวะตับแข็ง มะเร็งตับ และตับวายในที่สุด

แม้ว่าไวรัสตับอักเสบ บี จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตับได้ แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเลือดหรือผู้ที่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อและ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ทุกราย ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำข้างต้น ตรวจติดตามการอักเสบของตับทุก 3-6 เดือน และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับหรืออัลตราซาวน์ทุกปี เพื่อป้องกันผลร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

#คลินิก#แลบ#ตรวจ#เลือด#ปัสสาวะ#ร่างกาย#สุขภาพ#ประจำปี#ใบสั่ง#แพทย์#ก่อนเข้างาน#สมุทรสาคร#มหาชัย#ทีแอลซี#เฮลท์แลบ#ประจวบคีรีขันธ์#หัวหิน#หัวนา

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page