วันนี้เราจะมาพูดถึงรายการตรวจอีก 1 ตัวที่ในปัจจุบันคนเริ่มหันมาสนใจตรวจกันมากขึ้น นั่นก็คือ Homocysteine นั่นเอง… แล้วมันสำคัญยังไง
• Homocysteine เป็นกรดอะมิโนที่จะนำไปสร้างเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น แต่ต้องมีผู้ช่วยเป็นวิตามิน บี6 / บี12 / และกรดโฟลิก แต่ถ้าร่างกายขายวิตามินเหล่านี้ Homocysteine จะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น ส่งผลให้มี Homocysteine สูงในเลือด และจะทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการกระตุ้นการอุดตันของลิ่มเลือดตามมา นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด
• Homocysteine เป็นสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผนังด้านในของหลอดเลือดโดยตรง ดังนั้น ถ้ามี สูงขึ้นเป็นเวลานานติดต่อกัน ผนังด้านในหลอดเลือดจะเริ่มขรุขระและเริ่มมีตะกรันไขมันมาสะสม ในที่สุดก็จะเกิดการอุดตันหรือตีบแคบลง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดที่มีขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และหลอดเลือดสมองที่จะ ส่งผลให้มีอาการ อัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้เร็วกว่าวัยอันควร
เมื่อก่อนพอพูดถึงปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เราจะนึกถึงเรื่องของ อายุ, ความดันโลหิต, ระดับไขมันดี น้อย, การสูบบุหรี่ หรือ มีประวัติญาติสายตรงที่เป็นโรคนี้ แต่ปัจจุบันเราพบอีกปัจจัยความเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายการที่ว่าข้างต้นเลยคือระดับสาร Homocystein ที่สูง
นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ Homocysteine ในเลือดสูง เช่น กรรมพันธุ์, ร่างกายได้รับเมทิโอนีน (จากเนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส) มากเกินไป, การขาดการออกกำลังกาย, การเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคตับ เบาหวาน มะเร็ง และการได้รับยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาลดกรด และการได้รับสารกระตุ้น เช่น แอลกอฮอล์ กาแฟ บุหรี่
ถ้าตรวจเลือดแล้วพบว่ามีระดับสาร Homocysteine สูงในเลือด แล้วต้องการลด Homocysteine ลงสิ่งแรกที่ควรทำคือทานอาหารที่มี วิตามิน บี6 / บี12 / กรดโฟลิก
- วิตามินบี 6 พบได้ใน เนื้อหมู เนื้อวัว ปลา ข้าวซ้อมมือ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าว กล้วยหอม ธัญพืช ผักและผลไม้ต่าง ๆ
- วิตามินบี 12 พบมากในเนื้อหมู ปลา ชีส นม และ ผลิตภัณฑ์จากนม
- ส่วน กรดโฟลิก พบมากในผักสีเขียวทุกชนิด ผลไม้พวกส้ม มะเขือเทศ และอาหารประเภทถั่วครับ
ถ้าทานวิตามินเหล่านี้แล้วแต่ Homocysteine ยังสูงอยู่ อาจจะต้องไปหาสาเหตุจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเหล่านี้ แล้วแก้ปัญหาจากสาเหตุเหล่านั้นนะคะ
และที่สำคัญคือการทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมอาหารในกลุ่มไขมัน โดยเฉพาะไขมันไม่ดี LDL หมั่นออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนะคะ
#คลินิก#แลบ#ตรวจ#เลือด#ปัสสาวะ#ร่างกาย#สุขภาพ#ประจำปี#ใบสั่ง#แพทย์#ก่อนเข้างาน#สมุทรสาคร#มหาชัย#ทีแอลซี#เฮลท์แลบ#ประจวบคีรีขันธ์#หัวหิน#หัวนา#หัวใจ