fbpx
240628 สภาวะสมดุลในร่างกาย

สภาวะสมดุล ในร่างกาย

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ สภาวะสมดุล ของร่างกายกันหน่อยดีกว่าค่ะ เพราะความไม่สมดุลของร่างกายส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คุณคิด ที่สำคัญสิ่งที่บอกว่าสมดุลหรือไม่สมดุลนี่ มันมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ง่าย ๆ  นี่สิ จะทำยังไง มาดูกันค่ะ

2 ตัวเอก ที่อยู่ใน สภาวะสมดุล ของร่างกาย

เริ่มจากการรู้จัก 2 ตัวเอกของเรื่องคือ สารต้านอนุมูลอิสระ และ อนุมูลอิสระ กันก่อนนะคะ เพราะเจ้า 2 ตัวนี้ เป็นตัวหลักในการเดินเรื่องวันนี้เลย

อนุมูลอิสระ (Free Radicals) คือ อะตอมหรือโมเลกุลที่ไม่เสถียรของพลังงาน เนื่องจากขาดอิเล็กตรอน จึงไปเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาแย่งชิงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่น ทำให้โมเลกุลอื่นเกิดรูปร่างบิดเบี้ยว ผิดเพี้ยนไป เกิดจากทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งก่อพิษให้ร่างกาย

  1. ภายในร่างกาย เกิดจากกระบวนการเผาผลาญในเซลล์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดกระบวนการนี้ แต่ถ้ามีการเผาผลาญที่มากเกินไปก็ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นตามไปด้วย เช่น การกินอาหารที่ให้พลังงานสูง กินอาหารมากเกินไป
  2. สิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น รังสี UV มลพิษ การติดเชื้อ อาหารปิ้ง ย่าง
  3. อด รวมไปถึงความเครียดทางกาย เช่น อดนอน อดอาหาร ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และความเครียดทางใจ

เมื่อเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นพิษกับร่างกาย ร่างกายจึงพยายามหาทางกำจัดพิษนี้ซึ่งต้องอาศัย “สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidants” เป็นตัวต้านทาน เมื่อไหร่ที่เราปล่อยให้อนุมูลอิสระมากกว่าสารต้านอนุมูลิสระ ร่างกายกำจัดอนุมูลอิสระไม่หมด อนุมูลอิสระก็จะเกิดการทำลายเซลล์ในร่างกายแบบช้า ๆ  “Oxidative damaged” เข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “Oxidative stress” เกิดความเสื่อมของอวัยวะ นำมาสู่โรคภัยต่าง ๆ  เช่น โรคหัวใจ สมองเสื่อม ความดัน ไขมันสูง เบาหวาน โรคอ้วน ริ้วรอย แก่กว่าวัย รวมไปจนถึงมะเร็ง

สภาวะสมดุล ของร่างกาย

เห็นไหมล่ะคะว่าเจ้าความไม่สมดุลในร่างกายที่ว่า มันส่งผลรุนแรงและร้ายกาจกับเราขนาดไหน ในปัจจุบันจึงมีการทดสอบว่าร่างกายเรามีความสมดุลในร่างกายหรือไม่ ด้วยการตรวจเช็ก อนุมูลอิสระ และประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อบ่งชี้ว่าร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุลหรือไม่ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังมากน้อยในอนาคต และเพื่อเฝ้าติดตามการรักษาได้ด้วย โดยรายการตรวจมี 2 รายการดังนี้

  1. d-ROMs Test เป็นรายการตรวจประเมินสภาวะที่ร่างกายถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ ด้วยการวัดปริมาณ R-OOH
  2. PAT Test เป็นการตรวจประเมินสภาวะที่ร่างกายแสดงถึงประสิทธิภาพหรือศักยภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ด้วยการตรวจหา Total Anti-oxidant

ใครที่ควรตรวจเช็ก d-ROMs/PAT Test

  • กลุ่มคนที่ดูแลสุขภาพ ต้องการตรวจเพื่อประเมินสุขภาพ สภาวะความสมดุลของร่างกาย
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยกลุ่มเคมีบำบัด กินยาต่อเนื่อง หรือรับประทานกลุ่ม Anti-Oxidant supplement เป็นประจำ

สุดท้ายนี้ถ้าใครไม่อยากป่วยง่าย ไม่อยากแก่เร็ว มีริ้วรอยเร็ว ๆ  ก็ควรลดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระ และเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามิน A,C,E, Lycopene, Beta-carotene ,Coenzyme Q10 นอกจากนี้อย่าลืม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (22.00-02.00 น.) ระวังความเครียดในการแต่ละวัน หาเวลาท่องเที่ยว พักผ่อน ออกกำลังกายแต่พอดี ลดการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง แป้ง น้ำตาล อาหารปิ้งย่างนะคะ

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

You cannot copy content of this page