ใครจะคิดว่า ” ใบไม้หล่นบนน้ำร้อนเป็นต้นกำเนิดการ ดื่มชา “
ว่ากันว่า … วัฒนธรรมการ ดื่มชา เริ่มมาจากประเทศจีนโดยบังเอิญ จากการที่มีใบไม้หล่นลงบนน้ำร้อนที่ฮ่องเต้เสวย
การ ดื่มชา ถือว่าเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของแถบเอเชีย นิยมดื่มชาในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคบางชนิด หรือบางทีการดื่มแสดงถึงการมีฐานะ
การดื่มชาไปไกลถึงฝั่งตะวันตกหลังจากที่อินเดียตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เริ่มจากชนชั้นสูงเช่นกัน จนในปัจจุบันนี้ เครื่องดื่มประเภทเป็นเครื่องที่คนบริโภคมากเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า
การดื่มชาในปัจจุบัน มีทั้งการดื่มชาดำ ผสมนม ผสมน้ำตาล ซึ่งแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน
ถ้าได้นั่งดื่มชาพร้อมคนรู้ใจ มีขนมที่ชื่นชอบสักชิ้น สองชิ้น คงทำให้รู้สึกผ่อนคลายและเพลิดเพลินมากขึ้นได้
บทสนทนาคงมีแต่เรื่องราวดี ๆ ว่ามั้ยคะการดื่มชา ทำให้เรานึกถึงชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ช้า ๆ ไม่เร่งรีบ
แค่มีกาน้ำร้อน พร้อมถ้วยชาใบเล็ก ๆ ซักใบ หนังสือสักเล่ม .. Perfect !!!
ใครติดในรสชาติ หรือชื่นชอบการดื่มชาน่าจะเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ไม่ยากนัก
ชามาจากส่วนไหนของต้นชา
ชาได้มาจากใบยอดอ่อนและก้านของต้นชา นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลายขั้นตอน นอกจากนี้ชายังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอม ที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ ที่นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน โดยแบ่งชาเป็น 7 ประเภท
1. ชาขาว ผลิตจากตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งให้สลด แต่ไม่ได้บ่ม เมื่อชงชาแล้วจะได้เครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน
2. ชาเหลือง ผลิตจากใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลด และไม่ได้บ่ม แต่ทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง
3. ชาเขียว ผลิตจากใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีเขียวอ่อน
4. ชาอู่หลง ผลิตจากใบชาที่ทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อย เรียกได้ว่าเป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอมและรสชาติอยู่ระหว่างชาเขียวและชาดำ
5. ชาดำ ผลิตจากใบชาที่ทิ้งให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้มีสีแดงเข้มจนถึงสีดำ
6. ชาแดง ผลิตจากใบของชาเขียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีน้ำตาลแดง
7. ชาผูเอ่อร์หรือชาหมัก ผลิตจากชาเขียวพันธุ์ใบใหญ่ยูนนานผ่านกระบวนการหมักนานนับปี ดื่มครั้งแรกจะรู้สึกว่ามีกลิ่นแรงและรสชาติเข้มข้นมาก แต่เมื่อดื่มครั้งต่อๆไปจะรู้สึกติดใจ
ชามีสรรพคุณหลายอย่างที่ดีต่อสุขภาพ แต่เมื่อไหร่ที่เราใส่น้ำตาลหรือนมลงไป อาจจะมีผลต่อสรรพคุณนั้น ๆ ยับยั้งการทำงานของฤทธิ์ยาที่มีได้ และที่แน่ ๆ ส่งผลต่อรัดับน้ำตาลและไขมันในเลือด…แน่นวลลล
ส่วนใครที่อยากอ่านตอนถัดไป คลิก วัฒนธรรมการดื่มชาตอนที่ 2
***************************************