fbpx
เฮลท์แลบ คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
Follow us :
ตรวจเช็คเบาหวาน-ในคุณแม่ตั้งครรภ์

ตรวจ เบาหวาน ใน หญิง ตั้งครรภ์

ใคร ๆ ก็ไม่อยากป่วย จริงมั้ยคะ ?? ยิ่งถ้าเรากำลัง ตั้งครรภ์ ด้วยแล้ว ยิ่งกังวลไปซะทุกเรื่อง กลัวจะทำให้ลูกไม่แข็งแรง

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องโรค ” เบาหวาน ” ในผู้หญิง ตั้งครรภ์ กันนะคะ


บางคนมาเป็นโรค เบาหวาน ตอนท้อง พอคลอดเสร็จ บางคนก็หาย บางคนก็ยิงยาวโลด เป็นไปตลอดชีวิต
ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายตัวส่งผลต่อคุณแม่มากมาย แล้วก็ส่งไปถึงลูกในท้องอีกด้วย

แล้วทำไมการตั้งครรภ์บางคนมันส่งผลต่อการเป็นเบาหวานขนาดนั้นล่ะ ?
เพราะเวลาท้อง ร่างกายแม่จะกักเก็บน้ำตาลไว้ให้ลูกในท้องและนำไขมันมาใช้เป็นพลังงานหลักแทน ประกอบกับมีการสร้างฮอร์โมน hPL ขึ้นมา ซึ่งอาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นเบาหวานได้


แล้ว…. แม่คนไหนที่มีความเสี่ยงบ้างล่ะ
⛔️ คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากเกิน 4 กิโลกรัม
⛔️ เคยมีประวัติคลอดบุตรที่มีความพิการหรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบ สาเหตุ
⛔️ อ้วน น้ำหนักเยอะ
⛔️ ความดันสูง
⛔️ อายุมากกว่า 30 ปี
⛔️ เคยเป็นเบาหวานในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ
⛔️ ญาติพี่น้องเคยเป็นเบาหวาน

สำหรับกลุ่มเสี่ยงจะมีการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ โดยปกติจะมีการตรวจคัดกรองเบาหวานประมาณ 2 ครั้ง
ครั้งแรกของการฝากครรภ์ในกลุ่มเสี่ยง และอีกครั้งประมาณเดือนที่ 7-8 หรือเมื่อมีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน โดยการตรวจแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ

? GCT หรือ Glucose Challenge Test
โดยให้กินน้ำตาลกลูโคส 50 g. (โดยไม่ต้องงดอาหารก่อนการตรวจ) หลังจากนั้น 1 ชั่วโมงแล้วเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล
ถ้าหากค่าน้ำตาลน้อยกว่า 140 mg/dL. ก็สามารถฝากท้องได้ตามปกติ แต่ถ้าค่าน้ำตาลเกิน 140 mg/dL. จะต้องทดสอบด้วยวิธีที่ 2 คือ OGTT

? OGTT หรือ Oral Glucose Tolerance Test ต้องงดอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชม. มีวิธีการคือ
– จะทำการเจาะเลือดก่อน 1 หลอดแรกเพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร
– กินน้ำตาลกลูโคส 100 g.
– เจาะเลือดหลังกินน้ำตาลครบชั่วโมงที่ 1 ชั่วโมงที่ 2 และชั่วโมงที่ 3 (ห่างกันทุก 1 ชั่วโมงจนครบ 3 ครั้ง)
หากผลปกติให้ตรวจซ้ำที่ สัปดาห์ที่ 24 – 28 อีกครั้ง

ผลกระทบสำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
❌ แม่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ ความดันสูง
❌ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
❌ การแท้งบุตร หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์
❌ ทารกคลอดออกมาน้ำหนักตัวมาก คลอดยาก
❌ เสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิด
❌ หลังคลอดอาจ เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
❌ คุณแม่อาจจะต้องเป็นเบาหวานไปตลอดชีวิต

เสี่ยงขนาดนี้ระมัดระวังกันหน่อยก็ดีนะคะสำหรับคุณแม่ทั้งหลาย บางคนท้องก็ท้องยากอยู่แล้ว ยังมาเป็นเบาหวานอีก…จบเลย

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page