fbpx
สุขภาพของพนักงานกับสารพิษที่ได้รับ

พนักงาน ใน ปั๊มน้ำมัน กับ มลพิษ ที่ได้รับ

ตรวจสุขภาพพนักงาน ปั๊มน้ำมัน
ตรวจสุขภาพพนักงาน ปั๊มน้ำมัน

คราวนี้ดูเป็นเรื่องห่างไกลตัวสำหรับบางคน แต่สำหรับบางคนมันคืออาชีพ มันคือชีวิต แอดกำลังพูดถึงอาชีพเด็กปั๊มน้ำมัน แค่เราต้องเข้าไปเติมน้ำมันในปั๊ม นั่งรอสวย ๆ อยู่ในรถ แต่พอต้องเปิดกระจกออกมาสั่งรายการ และจ่ายเงินเท่านั้นแหละ กลิ่นน้ำมัน สารระเหยต่าง ๆ ก็ลอย เข้ามาในรถ ต้องรีบปิดกระจกแบบด่วน ๆ

แล้วคนที่ต้องทำงานที่นั่น อยู่ตรงนั้นมากกว่า 6 – 8 ชม.ล่ะ เค้าต้องสูดดมกลิ่น อยู่กับ มลพิษ พวกนี้ขนาดไหน ผลกระทบทั้งจมูก ตา สมอง คิดแล้วน่าเห็นใจนะคะ

จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมด้านต่าง ๆ ทำให้มียานพาหนะและการขนส่งเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ มลพิษ ที่มาจากการใช้เชื้อเพลิงในการคมนาคมสูงมากขึ้น ส่งผลแนวโน้มการเกิดอุบัติการณ์โรคต่าง ๆ ในอนาคตเพิ่มขึ้นในทุกๆปี

มลพิษ ที่สำคัญได้แก่ ไอเสียต่าง ๆ (exhuast emissions) เช่น ควันดำ ฝุ่นละอองคาร์บอนมอนอกไซด์ สารอินทรีย์ระเหยง่ายต่าง ๆ เช่น เบนซีน โทลูอีน เอทิลเบนซีน ไซลีน เป็นต้น

สารเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบหายใจ ระบบประสาทและระบบเลือด รวมถึงอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะและอ่อนเพลีย และเหนี่ยวนำไปสู่สารพันธุกรรมที่ผิดปกติและการเป็นมะเร็งได้อีกด้วย

อันนี้น่ากลัวนะคะ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีความเสี่ยงในการได้รับสารระเหยมากกว่าคนปกติทั่วไป รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของพนักงานเอง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา 

แล้วส่วนใหญ่พนักงานมักไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันการรับสัมผัสต่าง ๆ (เอาจริง ๆ แทบไม่เห็นป้องกันกันเลย) ยิ่งใครที่ไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังเลิกงานก่อนกลับบ้าน

ทำให้มีโอกาสนำสารระเหยเหล่านี้ปนเปื้อนยังที่พักหรือที่บ้านด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการหาแนวทางเฝ้าระวังความเสี่ยงทางสุขภาพของพนักงานที่ทำงานในสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

แอดจึงคิดว่า แล้วถ้าพนักงานปั๊มน้ำมันจะตรวจสุขภาพ เค้าควรเช็คอะไรบ้าง

  1. CBC : ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จากการทำลายเม็ดเลือดเพราะได้รับสารระเหย
  2. Ferritin : เหล็กที่อาจจะพบปัญหาจากการได้รับสารระเหยเข้าไปเกิดการทำลายเม็ดเลือด เกิดเหล็กสะสมได้
  3. BUN, Creatinine : การทำงานของไต
  4. AST, ALT, ALP : การทำงานของตับ
  5. HBs Ag : ไวรัสตับอักเสบบี หนึ่งในตัวทำลายตับ
  6. Cholinesterase (Ch E) : สารสื่อประสาทที่ได้รับผลกระทบจากสารระเหย
  7. Benzene, Toluene, Xylene : สารระเหยที่มาจากการประกอบการปั๊มน้ำมัน

การตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือดเพื่อดูภาวะเลือดจางในพนักงานซึ่งส่งผลต่ออาการปวดศีรษะ วิงเวียนศรีษะ

การตรวจ Ferritin (เหล็ก) เนื่องจากการมีเหล็กในร่างกายมากเกินไปเสียงต่อการเกิดมะเร็งตับได้

รวมถึงการตรวจไวรัสตับอักเสบ ค่าการอักเสบของตับและไต จะช่วยดูเรื่องสารพิษที่ร่างกายรับเข้าไป ทั้งยังรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ดื่มสุรา การรับประทานยา ได้อีกด้วย ระดับ Cholinesterase (โคลีนเอสเทอเรส) ในเลือดสัมพันธ์กับเม็ดเลือดแดงและสมอง และบริเวณปลายประสาทต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างจากตับ มักถูกรบกวนหรือต่อต้านการทำงานด้วยสารระเหยต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพพนักงานเบื้องต้นในทุก ๆ ปี

ทุกอาชีพมีความเสี่ยง เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อยก็แล้วแต่ แต่สำหรับบางอาชีพที่มีความเสี่ยงมาก เช่นกรณีนี้ ส่วนตัวแล้วแอดมินอยากให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานปั๊มน้ำมันกันแบบจริงจังนะคะ

เพื่อสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงไปพร้อมๆกันค่ะ ตราบใดที่เรายังไม่ต้องลงไปเติมน้ำมันเองแบบบางประเทศ เราอาจจะยังไม่รู้สึกถึงอันตรายต่อสุขภาพจากสารระเหยเหล่านี้

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

You cannot copy content of this page