fbpx
การดื่มน้ำ

การดื่มน้ำ

การดื่มน้ำ มีผลกระทบต่อร่างกายเราแค่ไหนรู้ไหมครับ

ปกติร่างกายของเรานั้นจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มากกว่า 70% โดยที่ร่างกายของผู้หญิงจะมีปริมาณของน้ำน้อยกว่าในผู้ชาย เพราะผู้หญิงจะมีเซลล์ไขมันมากกว่า ซึ่งเซลล์ไขมันนั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบเพียง 10 – 15 % ขณะที่เซลล์กล้ามเนื้อจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70 – 75%  จากปริมาณที่กล่าวมานั้นทำให้น้ำมีความสำคัญต่อชีวิตของคนเรามาก

บทบาทของน้ำมีผลต่อร่างกายคนเราอย่างไรบ้างมาดูกันครับ เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะ เลือด เป็นตัวทำละลายของสาร และนำไปสู่การใช้งานของร่างกาย เช่น วิตามินซี และกลุ่มวิตามินบีต่างๆ  ขับถ่ายของเสียในร่างกาย และช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  เป็นอย่างไรครับ ที่ว่ามาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เห็นไม่ครับว่าน้ำมีบทบาทที่สำคัญมากกับร่างกายคนเรา ผมจึงอยากนำเรื่องราวเกี่ยวกับน้ำมานำเสนอกัน มาดูเรื่องราวเกี่ยวกับการดื่มน้ำกันเลยครับ

การดื่มน้ำ เท่าไรถึงจะดี

เรื่องแรกที่เราควรรู้เกี่ยวกับน้ำ คือ เราควรดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน หลายคนคงเคยได้รับรู้มาว่า คนเราควรดื่มน้ำประมาณวันละ 8 แก้ว โดยเฉลี่ย เรื่องนี้ก็เป็นวิธีการดื่มที่เข้าใจได้ง่าย แต่วันนี้ผมมีสูตรในการคำนวณ ปริมาณการดื่มมาฝากกันครับ

สูตรคือ  (น้ำหนักตัว(กก.)X 2.2 X 30)/2 หน่วยที่ได้คิดเป็น “มิลลิลิตร” ครับ

ตัวอย่าง  คุณหนัก 60 กก. ควรดื่มน้ำ  =  (60 X 2 X 30)/2  =  1,980 มิลลิลิตร ครับ ดังนั้นถ้า น้ำ 1 แก้ว 200 มิลลิลิตรก็ต้องดื่ม ประมาณ 10 แก้ว/วัน ครับ   ทีนี้เราก็จะรู้แล้วล่ะครับ ว่าเราควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร ในแต่ล่ะวัน

เรื่องที่สอง การดื่มน้ำแต่ล่ะครั้งให้เป็นการดื่มในปริมาณครั้งล่ะไม่มาก แต่บ่อยๆ ครับ ไม่ใช่ว่าพอกระหายมาก็ดื่มเอาๆ ไม่มีประโยชน์ครับ แต่ล่ะครั้งที่ดื่มน้ำมากจะมีส่วนที่จำเป็นกับร่างกายส่วนหนึ่ง ที่เหลือจะถูกขับออกหมด เพราะเกินความจำเป็นต่อการใช้งาน ผมอยากยกตัวอย่างเทียบกับการรดน้ำต้นไม้ ถ้าเราลองสังเกต เวลารดน้ำต้นไม้ ถ้าเรารดน้ำมากและปริมาณน้ำไหลแรง จะเห็นน้ำนองอยู่ ถ้าเป็นการรดน้ำในกระถางที่มีดินร่วนในกระถางจะเห็นน้ำไหลออกที่ก้นกระถาง ครับ นั้นล่ะครับที่ผมอยากบอกคือประมาณน้ำที่ต้นไม้ได้จะมีเพียงเล็กน้อย

เพราะการดูดซึมจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่องเหมือนกันกับร่างกายคนเรา การดื่มน้ำบ่อยๆ ในปริมาณไม่มาก อาจจะครั้งละ 1 แก้ว จะทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าครับ อีกปัญหาหนึ่งสำหรับเรื่องนี้คือ คนที่เข้าใจว่าดื่มครั้งละมากๆ แต่น้อยครั้งนั้นได้ปริมาณน้ำเท่ากับคนที่ดื่มน้ำไม่มากแต่บ่อยๆ นั้นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เป็นอีกเรื่องที่อยากทำความเข้าใจกับการดื่มน้ำ

เรื่องที่สามเราควรดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือ อุณหภูมิปกติ ครับ เพราะหากน้ำที่เราดื่มนั้น เย็น หรือ ร้อนเกินไปนั้นจะมีผลกระทบต่อร่างกาย น้ำร้อนผมคงไม่ต้องพูดถึง สำหรับน้ำเย็นนั้นจะมีผลกับเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายคนเรา ถัดมาก็จะเป็นเรื่องของระบบย่อยครับ เอนไซม์ในการย่อยหลายตัวนั้นทำงานได้ดีที่อุณหภูมิ 25 – 30 ◦C น้ำเย็นจะทำให้ระบบทำงานได้ไม่ดีครับ ในส่วนของกระเพาะอาหารเมื่อเจอน้ำเย็นก็ไปทำให้การทำงานนั้นทำได้ไม่ดีเช่นกัน

เรื่องที่สี่น้ำที่ควรดื่มคือ น้ำธรรมดาจะเป็นน้ำแร่ก็ได้ แต่สำหรับน้ำอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ชา  กาแฟ น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือน้ำอื่นๆ ที่มีส่วนผสมนั้น ทานได้แต่ให้ประโยชน์ไม่เท่ากับก

การดื่มน้ำ

ารดื่มน้ำเปล่าครับ สำหรับบางคนการทานน้ำเปล่ายังมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักอีกด้วย

สุดท้ายใน 1 วันเราควรดื่มน้ำเวลาไหนบ้าง

  • ตื่นนอนมาก่อนแปรงฟัน อย่างน้อย 1 แก้วครับ
  • ก่อน และหลัง ทานอาหาร แต่อย่ามากเกินไปน่ะครับ เพราะจะทำให้น้ำย่อยในการย่อยอาหารเจือจางและทำให้ท้องอืดได้ครับปริมาณก็สัก 1 แก้วก่อนทานอาหารสัก 15-30 นาที และหลังทานอาหารสัก 1 แก้ว
  • ระหว่างวัน ก็ 1 – 2 ชั่วโมง 1 แก้ว
  • สุดท้ายก่อนนอน สัก 1 ชั่วโมง อีก 1 แก้วครับ
  • สำหรับคนที่ออกกำลังกายให้ทานน้ำ สัก1-2 แก้วก่อนออกำลังกายประมาณ 30 นาที และระหว่างออกำลังกายทุกๆ 20 นาทีโดยเป็นการจิบเพื่อแก้กระหายน้ำครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับกับเรื่องราวของการดื่มน้ำ ผมหวังว่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ หากผู้อ่านท่านใดมีเรื่องราวที่สนใจ หรือสงสัย ส่งความสงสัยมาให้เราได้ครับ แล้วพบกันใหม่น่ะครับ ^^

 “ สุขภาพ ดีๆ ที่ดูแลได้ด้วยตัวคุณเอง ”

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page