กลับมาพบกันอีกครั้งครับ วันนี้เราจะมาว่ากันต่อเรื่องของ นาฬิกาชีวิต ตอนท้ายครับเรามาดูว่าหลังพระอาทิตย์ตกแล้วเราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรกันครับ
นาฬิกาชีวิต หลังพระอาทิตย์ตก
19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหัวใจ และเป็นช่วงเวลาของระบบหมุนเวียนโลหิต โดยช่วง 19.00 น. อุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนัง ช่วงนี้ควรระวังอาการกำเริบ
21.00 – 23.00 น. เป็นช่วง เวลาของระบบทั้ง 3 (triple heater) ได้แก่ ระบบหายใจ ส่งผลต่อร่างกายช่วงบน(หัวใจ-ปอด) ระบบย่อยอาหารมีผลต่อช่วงกลางลำตัว(กระเพาะ อาหาร ม้าม ตับ) และระบบขับถ่ายมีผลต่อร่างกายช่วงล่าง(ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก) เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง การขับถ่ายอุจจาระจะหยุดพักชั่วคราว ร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ควรนอนหลับพักผ่อน
23.00 – 1.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี เพื่อเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีและตับ จึงเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันอย่างมาก
1.00 – 3.00 น. ช่วงเวลาของตับ เพื่อกำจัดสารพิษในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยนำมาสังเคราะห์และเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน และสร้างน้ำดีมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ช่วงนี้ควรเป็น ช่วงที่หลับสนิทเพื่อให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้ดี เนื่องจากเวลา 2.00 น ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินได้สูงสุด การนอนไม่หลับ เครียด ได้รับสารพิษ หรือรับประทานอาหารหวานจัด จะส่งปัญหาถึงตับ สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ ช่วงนี้อาจทำให้อาการกำเริบและหัวใจล้มเหลวได้
สำหรับท่านที่จำตอนแรกไม่ได้สามารถย้อนกลับไปอ่าน นาฬิกาชีวิตตอนแรก ได้ครับ และนี้ก็เป็นทั้งหมดของนาฬิกาชีวิตครับ ลองปรับใช้ดูนะครับ ผมเชื่อว่ามีประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกท่านอย่างแน่นอนเพียงแต่ว่าจะมากน้อยครับ แต่สุดท้ายถ้าเราทำได้ตามธรรมชาติแล้วในความเป็นจริงก็จะทำให้ร่างกายของเราค่อยปรับเข้าสู่สมดุลได้อย่างแน่นอนครับ สำหรับฉบับนี้ผมคงต้องลาท่านผู้อ่านไปก่อนแล้วครับ ^^