ปั จจุบันพบผู้ป่วย โรคซึมเศร้า เพิ่มมากขึ้น พบได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งโรคนี้แต่ก่อนไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมาก อาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่ที่สำคัญคือหลายคนอาจไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะนี้อยู่ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้มาจากความเครียด เพราะฉะนั้นหากว่ามีการสะสมของความเครียดนานเกินไปโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะส่งผลเสียต่อสภาวะจิตใจและร่างกายได้ในระยะยาว
โรคซึมเศร้า เกิดจากอะไร?
โดยปัจจุบันพบว่า โรคนี้ได้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและให้ความสำคัญมากขึ้น โรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดจากสิ่งกระทบทางจิตใจเพียงอย่างเดียว เพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขและหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้
เซโรโทนิน (Serotonin) มาจากไหน? และ ดีอย่างไร?
Serotonin ถูกสร้างจากโปรตีน Trytophan ซึ่งส่วนใหญ่สร้างและเก็บไว้ในลำไส้เล็กเกือบ 95 % ที่เหลืออยู่ที่สมองและตับ-ไตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปัจจุบันจึงพบภาวะซึมเศร้ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลำไส้และระบบย่อยอาหาร คนที่มักจะปวดท้อง แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ขับถ่ายไม่ปกติหรือมีปัญหาที่ลำไส้อยู่บ่อย ๆ พบว่าจะมีความเครียด วิตกกังวลมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งลำไส้จะมีจุลินทรีย์ที่เรียกว่าโพรไบโอติก (Probiotics) คือกลุ่มแบคทีเรียหรือยีสต์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่นๆ ของร่างกาย เมื่อมีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ได้ดี และเป็นตัวผลิตสารสื่อประสาทหลายตัว หลัก ๆ คือ Serotonin หรือสารแห่งความสุข ที่ทำให้เรานอนหลับได้ดี
หากมี เซโรโทนิน (Serotonin) น้อยเกินไปจะส่งผลอะไรบ้าง?
หากมี เซโรโทนิน (Serotonin) ปริมาณต่ำกว่าปกติจะส่งผลให้อารมณ์ขุ่นมัว อ่อนไหว เศร้าง่าย รู้สึกกังวล โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ ส่งผลให้การตัดสินใจและการจดจำแย่ลง ถ้าหากอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึกส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคเครียด โรคสมาธิสั้น โรค PTSD และโรคกลัว (Phobias) ได้ อีกสารหนึ่งคือ GABA (Gamma-aminobutyric acid) เป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้เราผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่วิตกกังวลและส่งผลต่อคุณภาพของการนอนหลับของเราด้วย และยังมีฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าด้วย นั่นคือ คอลติโซล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด เป็นฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต เพื่อช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด เมื่อร่างกายมีความเครียด วิตกกังวลในระยะสั้น ๆ ก็จะส่งผลให้ฮอร์โมนตัวนี้สูงขึ้นและหลั่งสารเคมีต่าง ๆ ออกมาในร่างกาย เพื่อไปช่วยลดระดับความเครียด และจัดการกับร่างกายเพื่อตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ซึ่งกลไกเหล่านี้ไปรบกวนการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ไม่ปกติและส่งผลต่อการสร้างหรือส่งสารเซโรโทรนินและสารสื่อประสาทอื่น ๆ ไปยังสมองได้เช่นกัน
สรุป
ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล นอกจากจะรักษาด้วยยาต้านการซึมเศร้า ยานอนหลับหรือทำจิตบำบัดแล้ว ยังต้องประเมินในเรื่องของลำไส้ร่วมด้วย เช่น ประเมินเรื่องความไวต่ออาหาร (Food sensitivity) เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลต่ออวัยวะหลายส่วน ประเมินความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut microbe) เพื่อเสริมสร้างโพรไบโอติก ประเมินภาวะลำไส้อักเสบ เช่น การตรวจหาค่าการอักเสบในอุจจาระ เมื่อมีการขับถ่ายผิดปกติ และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลำไส้ ซึ่งสามารถเสริมด้วยแร่ธาตุและอาหารเสริมได้ เช่น ขมิ้น, Zinc carnosine, glutamine protein อื่น ๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การพักผ่อน การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คาดว่าจะทำให้เราเครียด วิตกกังวลได้ง่าย การออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีและเป็นปกติค่ะ