สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย หน้าที่หลักของ วิตามิน คือ ช่วยซ่อมแซมเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่สึกหรอหรือถูกทำลาย นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการสร้างสารต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน สารสื่อประสาท หรือแม้แต่การสร้างเนื้อเยื่อ ถึงจะต้องการปริมาณที่น้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ ขอให้เพียงพอกับการทำงานของร่างกายและการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ ด้วยตัวของวิตามินเองนั้นไม่ได้มีขัอเสียอะไรเลย แต่ผู้บริโภคนี่แหละ ที่ทำให้มันเกิดปัญหา เพราะด้วยความต้องการที่มากเกินไป-เกินพอดีนี่เอง
…อ้าวแล้วถ้าได้รับ วิตามิน ในปริมาณที่มากเกินไปล่ะ ? นั่นคือคำถามที่ตามมาหลังจากที่ ” กลัวขาด ก็กินเข้าไปเยอะ พอกินไปเยอะก็กลัวเกิน แล้วตรงไหนที่มันพอดี “
เรารู้กันอยู่แล้วว่า ทุกสิ่งในโลกนี้ อะไรที่มากหรือน้อยเกินไปก็คงจะไม่ดี งั้นมาทำความรู้จักกับวิตามินกันหน่อยนะคะ
วิตามิน ที่ละลายในไขมัน
กลุ่มนี้เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน กำจัดออกจากร่างกายได้ยากกว่าชนิดที่ละลายในน้ำ จึงมักเกิดการสะสมมากกว่าถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป
- วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ร่างกายสามารถเก็บสะสมได้ หากรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริมทดแทน พบได้ในผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม ส่วนที่พบในสัตว์เช่น ไข่ นม ตับ น้ำมันตับปลา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น ลดรอยจุดด่างดำ สิว แต่ถ้าได้รับเกินจะทำให้ปวดกระดูก คลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง อ่อนเพลีย ประจำเดือนไม่ปกติ ในหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้วิตามินเอทุกกรณี อาจแท้งลูกได้
- วิตามินดี วิตามินดีมี 2 ชนิดคือ
- วิตามินดี 2 ซึ่งได้จากอาหารจำพวกยีสต์ ซึ่งได้มาน้อยมาก
- วิตามินดี 3 เป็นวิตมานที่ได้มามากซึ่งได้มาจากแสงแดดเมื่อได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเลตแล้วร่างกายจะสร้างวิตามินขึ้นเอง และอาหารจำพวกสัตว์ เช่นน้ำมันตับปลา ปลาแซลมอน ทูน่า ตับ.
ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ถ้าขาดก็จะเกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ฟันผุ ในผู้สูงอายุก็เกิดกระดูกพรุน ส่วนใหญ่จะพบว่าขาดในผู้ที่ทำงานในออฟฟิซ ไม่ค่อยออกแดด ทาครีมกันแดดมากเกินไป ปัญหาของวิตามินดีเกินมาจากการกินวิตามินเสริมเป็นหลัก จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย อาการที่พบได้คือ เบื่ออาหาร ทางเดินอาหารปั่นป่วน ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ เจ็บปวดตามข้อ ปัสสาวะมาก แคลเซียมในเลือดสูง แคลเซียม เกาะตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นเหตุให้อวัยวะดังกล่าวผิดปกติได้
- วิตามินอี
วิตามินอีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม ลดไขมันไม่มี ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอวัย ได้จากอาหารพวก ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน โรคจากการขาดวิตามินอีคือ เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย กล้ามเนื้อฝ่อ และโรคโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ การกินวิตามินอีสูงมาก ๆ อาจมีผลกระทบต่อวิตามินตัวอื่นๆ เช่น ขัดขวางการดูดซึมวิตามินเอและวิตามินเค
- วิตามินเค
ช่วยป้องกันเลือดออกภายใน หรือออกไม่หยุด เช่นเลือดกำเดาไหลบ่อย ประจำเดือนมามากผิดปกติ พบในอาหารพวกไข่แดง ผักใบเขียว นม เนย น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา ปัจจุบันยังไม่พบความเป็นพิษของวิตามินเคที่ได้รับจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะให้ขนาดสูงแค่ไหน แต่วิตามินเคที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากแบคทีเรียจะทำให้เกิดพิษได้ถ้าได้รับในขนาดสูง เช่น ทำให้ทารกเกิดภาวะโลหิตจาง น้ำดีคั่งในเลือด และมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองรุนแรง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อกระบวนการออกซิเดชั่นและกดการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระนี้เองที่เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะตามมา
วิตามิน ที่ละลายในน้ำ
กลุ่มนี้กำจัดออกได้ง่าย เกิดการสะสมทำให้เกิดพิษได้น้อยกว่ากลุ่มละลายในไขมัน
- วิตามินบี 1 หรือ ไทอะมีน เป็นวิตามินบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ ป้องกันเหน็บชา พบได้ในผัก โฮลวีต ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา ไม่ค่อยพบเคสที่ได้รับวิตามินปริมาณมากเกินไป เพราะร่างกายจะขับออกเองทางปัสสาวะ แต่กรณีถ้ามีอาการจะเกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว บวม
- วิตามินบี 2 หรือ ไรโบเฟลวิน พบได้ในไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต ป้องกันโรคปากนกกระจอก บำรุงผิวพรรณ เส้นผม ปัญหาการสะสมน้อยมาที่
- วิตามินบี 3 หรือ ไนอาซีน พบได้ในไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก ตับ โฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง อะโวคาโด อินทผลัม ประโยชน์ที่หลายๆคนคงชอบคือ เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดไขมัน ลดความดัน ถ้าขาดวิตามินบี 3 จะเกิดโรคเพลลากรา (Pellagra) ลักษณะอาการคือเป็นผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรง หากได้รับมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดการปวดข้อ เก๊าท์ คนที่เป็นเบาหวานจะมีผลต่อระดับน้ำตาลทำให้สูงขึ้น แต่พบน้อยมาก
- วิตามินบี 5 หรือ กรดแพนโทเทนิก แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ตับ ไต หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว ประโยชน์ของวิตามินบี 5 คือช่วยลดไขมันในเลือด สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยในการเจริญเติบโตขณะที่โรคจากการขาดวิตามินบี 5 ได้แก่ โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นแผลในลำไส้เล็ก โรคเลือด โรคผิวหนัง
- วิตามินบี 6 หรือ ไพริดอกซีน พบได้ในอาหารพวกรำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ตระกูลถั่ว กะหล่ำปลี แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา ช่วยบำรุงเลือด ชะลอวัย เสริมสร้างการเจริญเติบโต ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หากโรคจากการขาดวิตามินบี 6 โรคโลหิตจาง ผื่นผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมัน แต่ถ้ากินมาเกินไปอาจจะมีอาการกระตุก นอนกระสับกระส่าย
- วิตามินบี 7 หรือไบโอติน พบในตับวัว ไข่แดง นม แป้งถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสง บริเวอร์ยีสต์ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ช่วยบำรุงเส้นผม เล็บ ผิว ลดอาการปวดเมื่อย เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน แต่ถ้าขาดจะทำให้ ผมร่วง ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง การเผาผลาญไขมันทำงานไม่สมบูรณ์ เป็นผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณหน้าและตัว
- วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิก พบในไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แครอท แคนตาลูป ฟักทอง ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ช่วยบำรุงผิพรรณ สุขภาพ รักษาโลหิตจาง ช่วยให้แม่ที่ตั้งครรภ์ป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกคลอด โรคจากการขาดวิตามินบี 9 โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติกหรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ
- วิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน พบในเนื้อสัตว์เป็นหลัก ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง ช่วยบำรุงประสาท สร้างการเจริญเติบโต สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโลหิตจาง ป้องกันกระดูกพรุน ถ้าขาดก็จะเกิดภาวะโลหิตจาง และโีรคเกี่ยวกับระบบประสาท
นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 15 ,17 ซึ่งได้จากข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดธัญพืช เมล็ดพืช ถั่ว แมคาเดเมีย ช่วยลดคอเลสเตอรอล สังเคราะหืโปรตีน ลดความเสื่มของสมอง
สำหรับถ้าใครที่กำลังทานหรือกำลังตัดสินใจว่าจะทานวิตามินชนิดบีนั้นเรามีคำแนะนำว่า การทานวิตามินบีนั้นไม่ควรแยกทานเพราะวิตามินแต่ละตัวจะทำงานส่งเสริมกันและกัน จะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า
- วิตามินซี หรือ แอสคอร์บิก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอย ลดความดัน ไขมัน ลดการสร้างสารก่อมะเร็ง ซึ่งวิตามินนี้ได้จากการกินเท่านั้น พบได้ในผลไม้รสเปรี้ยว ตระกูลเบอรี่ ฝรั่งผักใบเขียว มะเขือเทศ ถ้าขาดจะทำให้เลือดออกง่าย แก่เร็ว แต่ถ้ามากเกินไประวังการเกิดนิ่ว ท้องร่วง สูญเสียง่ายเมื่อเจอน้ำ แสงแดด ความร้อน การปรุงอาหาร วิตามินจะถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วกรณีที่สูบบุหรี่ และเครียด ทำให้แก่ง่าย ไม่สดใส วิตามินซีสามารถขับออกทางร่างกายได้ง่ายภายใน 2-3 ชม. เนื่องจากละลายในน้ำจึงทำให้ไม่ค่อยพบปัญหาที่เกิดจากวิตามินซีเกิน
ปัจจุบันนี้ได้มีอาหารเสริมความงามที่หลากหลาย ทำให้หลายคนแทบจะหันมารับประทานวิตามินแทนมื้ออาหารกันเลยทีเดียว เพียงเพื่ออยากให้เพิ่มความสวยงามหรือเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย แต่หารู้ไม่ว่าวิตามินที่ทานเข้าไปนั้น ได้นำไปใช้ได้จริงหรือไม่ ทำไมร่างกายถึงยังแสดงอาการขาดวิตามินทั้งๆที่กินไปเยอะขนาดนี้ หรือ ทำไมร่างกายถึงแสดงอาการผิดปกติทั้งๆที่กินของดีขนาดนี้ นั่นเป็นเพราะว่า ร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกันและความต้องการของร่างกายแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
การจะรู้ได้ว่าร่างกายของเราต้องการอะไร เราจำเป็นต้องตรวจเลือดหาระดับสารอาหารหรือวิตามินที่ท่านต้องการกินเพิ่มก่อนว่าเราขาดหรือเกินสิ่งไหน แล้วจึงเสริมสร้างในสิ่งนั้น และที่สำคัญร่างกาย อวัยวะภายในพร้อมที่จะรับสิ่งนั้นหรือไม่ โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาเรื่องไตและตับอาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการเลือกวิตามินมากิน เพราะอาจจะเกิดผลเสียตามมาได้
นอกจากนั้น สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงอีกเรืื่องคือ ของกินทุกอย่างบางคนคิดแล้วคิดอีก แล้วยิ่งพอเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เกิดจากการสังเคราะห์หรือไม่ใช่สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา คงจะพิถีพิถันในการเลือกมากขึ้น ก่อนซื้อมารับประทานคงต้องศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์กันให้ดี
” ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนให้คุณประโยชน์ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานไม่มากไปและไม่น้อยไป จึงจะดี “
สนใจการตรวจสุขภาพสอบถามได้ที่ healthlabclinic หรือ มหาชัยทีแแอลซี