หลังจากที่มีลูกค้ามา ตรวจสุขภาพ หลายท่านพบปัญหาเรื่องการทำงานของไต ทั้งในรูปของค่าการทำงานไตไม่สู้ดี สูงขึ้นจนเกือบเกินค่าปกติ หรือบางรายพบค่าการเสื่อมของไต จากค่า eGFR ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลแสดงถึงภาระของไตที่เพิ่มมากขึ้น หรือโอกาสเสี่ยงต่อการเป็น โรคไตเรื้อรัง วันนี้เราจะมาอธิบายถึงค่าตรวจวัดต่างๆที่เกี่ยวกับการทำงานของไตนะคะ
- BUN หรือ Blood Urea Nitrogen เป็นค่ายูเรียในเลือดที่ได้มาจากการย่อยของโปรตีนที่ตับ แล้วไปกำจัดที่ไตทำให้สามารถนำค่านี้ไปช่วยในการประเมินการทำงานของไต ถ้ามากเกินไปอาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะไตเสื่อม การได้รับโปรตีนที่สูงเกินไป ขาดน้ำ ทานยาบางชนิด หรือแม้กระทั่งพบได้ในผู้ป่วนเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- Creatinine เป็นของเสียที่เกิดจากการสลายกล้ามเนื้อ และขับผ่านออกทางไต หากค่า Creatinine สูงแสดงถึงภาวะการทำงานของไตลดลงหรือไตเสื่อม ใช้ในการตรวจคัดกรองได้ดี โดยจะพบมากในผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ขาดน้ำได้ และยาบางชนิดที่ทำลายไต มีปัญหาการสลายกล้ามเนื้อ ขณะที่ถ้าค่าต่ำอาจจะเกิดร่างกายอ่อนแอ กล้ามเนื้อฝ่อ
- Uric Acid เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สารเพียวรีนในโปรตีน โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์ ผักบางชนิดเช่น หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วลิสง ผักบุ้ง กะหล่ำดอก ชะอม โดยยูริกจะขับออกทางไต ถ้าการทำงานของไตเสียไป จะตรวจพบค่า Uric สูงขึ้น
- GFR หรือ eGFR คือปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตใน 1 นาที ซึ่งเป็นตัวบอกการทำงานของไตที่ดีที่สุดตัวนึง สามารถบอกระยะของโรคไตเรื้อรังได้ แอดมินขออธิบายระยะของโรคไตเรื้อรังเพิ่มเติมนะคะ
โรคไตเรื้อรัง ระยะต่างๆ
ระยะที่ 1 ไตทำงานปกติ (GFR มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mL/min)
ระยะที่ 2 ไตเริ่มทำงานผิดปกติเล็กน้อย (GFR 60 – 89 mL/min)
ระยะที่ 3 ไตทำงานผิดปกติปานกลาง (GFR 30 – 59 mL/min)
ระยะที่ 4 ไตทำงานผิดปกติมาก (GFR 15 – 29 mL/min)
ระยะที่ 5 ระยะสุดท้ายต้องล้างไต (GFR น้อยกว่า 15 mL/min)
สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากให้กับผู้อ่านคือ สำหรับผู้ที่เริ่มมีปัญหาเรื่องไตเสื่อมแล้ว(ระยะที่ 5) อาหารเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องที่ดิฉันมั่นใจว่าหลายคนสนใจและอยากรู้ ระมัดระวังเรื่องการทานโปรตีน แคลอรี่ ระวังอาหารกลุ่มโซเดียมหรือรสเค็ม และที่สำคัญคือโพแทสเซี่ยมสูงเกินไปโดยเฉพาะในผักจำพวก หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด บรอคโคลี่ ดอกกระหล่ำ แครอท ผักโขม ผักบุ้ง ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ยอดฟักแม้ว ใบแค คื่นช่าย พวกผลไม้ เช่นกล้วย มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฟักทอง อโวคาโด
อย่าลืมนะคะ อย่ารอให้ต้องไตเสื่อมเสียก่อน ตรวจเช็คสุขภาพเสียบ้าง เช็คเพื่อเฝ้าระวัง ไม่ใช่รอให้ป่วยแล้วค่อยมาตรวจเพื่อรักษา จะสายเกินแก้นะคะ
สนใจการตรวจสุขภาพสอบถามได้ที่ healthlabclinic หรือ มหาชัยทีแแอลซี