fbpx
ซิฟิลิส (Syphilis)

ซิฟิลิส ( Syphilis )

ซิฟิลิส (Syphilis) อีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ไม่น้อยเลย เมื่อเทียบกับโรคเอดส์ โรคหนองในแล้ว

ซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ” Treponema pallidum “ โดยติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู้ร่างกายของเราได้ผ่านทางรอยขีดข่วนหรือบาดแผลเล็ก ๆ บนผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ เช่น บริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก

ลักษณะของแผลจะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ หรือเรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre)

การแพร่กระจายของเชื้อชนิดนี้สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ

🟥 ระยะที่ 1 (Early/Primary Syphilis)

จะเกิดแผลขนาดเล็กบริเวณที่ได้รับเชื้อ ขอบแผลมีลักษณะเรียบและแข็งที่เรียกว่า แผลริมแข็ง (Chancre) โดยเฉพาะตามอวัยวะเพศและริมฝีปาก หลังการได้รับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์

แต่ก็อาจพบอาการได้ในช่วง 10 – 90 วัน มักไม่มีอาการเจ็บปวดและจะค่อย ๆ หายไปได้เองภายใน 6 สัปดาห์ แม้ไม่ได้รับการรักษา

🟥 ระยะที่ 2 (Secondary Stage)

โรคจะเริ่มพัฒนาจากระยะแรกใช้เวลาประมาณ 1 – 3 เดือน ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดผื่นที่มีลักษณะตุ่มนูนคล้ายหูดขึ้นตามบริเวณฝ่ามือ – ฝ่าเท้า อวัยวะเพศ หรือส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ภายในช่องปาก แต่ไม่มีอาการคันตามผิวหนัง บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ มีปื้นแผ่นสีขาวในปาก เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ผมร่วง หรืออาการอื่น ๆ

ระยะสงบ (Latent Syphilis) เป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีอาการของโรคแสดงออกมาให้เห็น แต่ผู้ป่วยยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกายและตรวจเลือดพบได้ ระยะนี้สามารถเกิดได้นานเป็นปีก่อนจะพัฒนาไปยังระยะสุดท้าย

🟥 ระยะที่ 3 (Tertiary Syphilis)

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้โรคพัฒนามาจนถึงระยะสุดท้ายที่ก่อให้เกิดความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ สมอง เส้นประสาท หรืออวัยวะหลายส่วนของร่างกาย เมื่อเชื้อไปอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น อัมพาต ตาบอด ภาวะสมองเสื่อม หูหนวก ไร้สมรรถภาพทางเพศ โรคหัวใจ เสียสติ และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

โดยในช่วงระยะที่ 1 – 2 ของการติดเชื้อจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายมากที่สุด

ซิฟิลิส ( Syphilis )
ตรวจหาเชื้อซิฟิลิสได้

การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิส

✅ มีเพศสัมพันธ์เฉพาะสามี-ภรรยา / คู่นอนของตนเองคนเดียวเท่านั้น

✅ ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ (ตัวถุงยางอนามัยต้องครอบลุมบริเวณแผลด้วย)

✅ สำหรับสตรีมีครรภ์ทุกราย ควรได้รับการตรวจคัดกรองซิฟิลิสระหว่างการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามการใช้สิ่งของร่วมกันในบางกรณีที่ไม่ได้สัมผัสกับเชื้อโดยตรงอาจไม่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น การใช้ห้องน้ำ การสวมเสื้อผ้า หรือใช้ช้อน-ส้อมร่วมกัน รวมไปถึงระยะสงบของโรคที่มักไม่ค่อยมีอาการและไม่เกิดการติดต่อ

แม้ว่าการรักษาโรคซิฟิลิสจะสามารถป้องกันการเกิดผลกระทบที่ตามมาภายหลังได้ แต่อาการหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ไม่สามารถย้อนกลับได้ ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อน่าจะดีกว่าการแก้ปัญหาหลังจากติดเชื้อไปแล้วในภายหลัง

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

You cannot copy content of this page