ดอกกุหลาบ มีใครไม่รู้จัก ?
ดอกกุหลาบ ถือว่าเป็น “Queen of flower” แต่จะมีซักกี่คนรู้ว่าดอกไม้สวย ๆ นี้ ไม่ได้มีดีแค่รูปสวย และกลิ่นหอมเท่านั้นแต่ยิ่งกว่านั้นคือ “สรรพคุณทางยา”
#ดอกกุหลาบ ถูกนำมาใช้ในหลากหลายด้าน ประดับ ตกแต่ง และรวมถึงด้านสุขภาพ ใช้ทำอาหาร ในแทบทุกส่วนของโลก ทั้งทางฝั่งตะวันออกกลาง อินเดีย รวมถึงจีน
ในปัจจุบันถูกนำมาทำเป็น “#ชากุหลาบ” ซึ่งเริ่มต้นที่จีน ที่มีสรรพคุณทางการแพทย์
1. ปัญหาระบบทางเดินอาหาร เพราะชากุหลาบไปช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำดี เพื่อย่อยอาหารได้ดี
2. อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เพราะกลิ่นของชากุหลาบช่วยลดความเครียด เหนื่อยล้า ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
3. ปวดท้องประจำเดือน หรืออาการของวัยทอง เนื่องจากชากุหลาบมีคุณสมบัติ ต้านการอักเสบ เหมือนฤทธิ์ของ แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และวิตามินที่ช่วยลดอาการ ตะคริว บวม ปวดท้อง และอารมณ์แปรปรวน เหวี่ยงในช่วงนี้ได้
ข้อมูลด้าน โภชนาการ สำหรับ ชากุหลาบ 1 แก้ว
ไม่มีแคลอรี่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ และน้ำตาล และไม่มีคาเฟอีน
แต่….มี วิตามิน C E A ธาตุเหล็ก แคลเซียม
นอกจากนี้ยังมี Phytonutrients ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพพบเฉพาะในพืช มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่อาจต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิด เช่น มะเร็ง ซึ่งถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความสำคัญมาก
ช่วยเรื่องผิวพรรณ สุขภาพผิวแข็งแรง
ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
กระตุ้นการการสร้างระบบภูมิต้านทานจากการติดเชื้อ
พอความเครียดลดลง ระบบภูมิต้านทานก็จะดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสป่วยลง
ยังไม่หมดนะคะ ในชากุหลาบยังมีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ Polyphenols ที่ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน ได้อีกด้วย
แต่ชากุหลาบ ไม่ได้น่ารักกับทุกคนนะคะ บางคนก็อาจจะแพ้ได้
ข้อควรระวังในการดื่มชา
1. ในผู้ที่ทานยาต้านอาการโรคซึมเศร้า ไม่ควรดื่มชากุหลาบ เพราะจะทำให้ยาไม่ได้ผลที่ดีพอ
2. ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ถ้ามากเกินไปจะมีวิตามินซีสูง ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เสียดท้อง ปวดหัว คลื่นไส้ และวิตามินซีที่สูงเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้เกิดนิ่วในไต และทำให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กมากเกินไปด้วยเราต้องไม่ลืมว่า ทุกอย่างต้องพอดี
ข้อมูลอ้างอิง www.webmed.com