fbpx
ลูกติดแม่ทำอย่างไรดี

เมื่อต้องตกอยู่ในสภาวะ… ลูกติดแม่ ทำอย่างไรดี?

ลูกติดแม่ ทำอย่างไรดี  “ดิฉันเป็นแม่บ้านเต็มตัวค่ะ ตอนนี้ลูกชายอายุ 7 เดือนแล้ว และเริ่มร้องไห้งอแงทุกครั้งที่ดิฉันเดินไปที่อื่น บางทีแค่ลับสายตาไปนิดเดียว แกก็จะร้องโวยวายเสียงดังจนดิฉันไม่กล้าไปไหนเลยค่ะ ไม่แน่ใจว่าสาเหตุที่แกเอาแต่ร้องเป็นเพราะอะไรกันแน่ และอยากทราบว่าควรจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรดีคะ”

ลูกติดแม่ ทำอย่างไรดี

วัย 7 เดือน เริ่มเรียนรู้ได้ว่า การร้องไห้เป็นอาวุธที่ดีในการนำมาซึ่งสิ่งที่ต้องการจากผู้อื่น แต่ช่วงวัยนี้ก็เป็นเวลาที่สำคัญในการสอนให้ลูกเรียนรู้การพึ่งพาตัวเอง (independence) การเล่นคนเดียวเป็น (self entertain) การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุข (good company) การเรียนรู้ว่าคนอื่นก็มีความต้องการหรือมีหน้าที่ที่ต้องทำนอกเหนือจากการดูแลลูก (other people’s rights and needs) ไม่เช่นนั้นลูกจะคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของบ้าน กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง (self center) ดังนั้นคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้เช่นกัน

3 เดือนแรกเกิด เป็นช่วงที่ทารกยังใหม่ต่อโลกใบนี้ จึงต้องการให้มีคนอยู่ใกล้ๆเพื่อคอยดูแล และระวังคุ้มกันภัยให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เป็นแม่ จะได้ดูดนมแม่ได้เต็มที่

ลูกติดแม่ ทำอย่างไรดี?

หลังจาก 3 เดือน เด็กจะเริ่มปรับตัวกับโลกใบใหม่ เริ่มสนใจสิ่งแวดล้อม เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ช่วงนี้คุณแม่ควรฝึกให้ลูกเล่นเองในที่ปลอดภัย เช่น บนเบาะที่พื้น อยู่คนเดียวเองบ้างโดยคุณแม่อาจเดินจากลูกไปทำงานบ้านเป็นพักๆ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่า ไปแล้วก็กลับมา ไม่ได้หายไปเลย ถึงแม้ว่าลูกจะร้องไห้ ก็อย่าชะงัก อย่าลังเล หรือมีสีหน้ากังวลใจ เครียด ไม่กล้าเดินไปจากลูก เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกกลัวว่า การที่ไม่มีคุณแม่อยู่ด้วยเป็นเรื่องที่น่ากลัว เป็นเรื่องที่ไม่สนุก หรือ เป็นการถูกทำโทษ ให้คุณแม่ทำหน้ายิ้มๆ พูดกับลูกว่า เดี๋ยวแม่มาหานะ ลูกเล่นของเล่นไปก่อนนะ แม่ไปทำธุระเดี๋ยวเดียว บ๊ายบาย ลูกจะร้องไห้ตลอดเวลาที่คุณแม่เดินจากไป นาน 10 นาที หรือ ครึ่งชั่วโมงก็ไม่เป็นไร ถ้าลูกยังเห็นคุณแม่อยู่ในสายตาว่าทำอะไรอยู่บ้าง คุณอาจส่งเสียงบอกลูกเป็นระยะๆ ว่ากำลังทำอะไร อาจช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ได้ เมื่อคุณแม่กลับมา ให้ทำสีหน้าดีใจ ทักทายลูกว่า เป็นยังไงบ้าง คิดถึงแม่ไหม แม่หายไปทำอะไรมาบ้าง ตอนนี้เรามาเล่นกันดีกว่า เวลาที่ได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีก ให้เป็นเวลาที่มีคุณภาพ และมีความสุข เช่น อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เล่นของเล่นหรือเล่นเกมส์ด้วยกัน 

อย่าใช้วิธีแอบหนีลูกไป ตอนลูกเผลอ เพราะจะทำให้ลูกกังวลมากขึ้น และคอยเฝ้าคุณแม่ไว้ กลัวจะหนีหายไปอีก การเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของให้ลูกเปิดหาใต้ผ้า หรือ ในแก้วกระดาษ จะช่วยให้ลูกเข้าใจหลักการเรื่อง สสารหายไปจากสายตา เดี๋ยวก็กลับมาได้อีก ถ้าลูกอยู่ในที่เดิมนานๆอาจรู้สึกเบื่อ จึงควรเปลี่ยนอิริยาบท เช่น เอาออกจากเปลไปอยู่ในที่เล่น หรือ เอาออกจากคอกกั้นไปอยู่ที่เบาะปูพื้นหรือรถเข็นบ้าง ถ้าลูกยังร้องไห้ไม่หยุดเพื่อให้คุณอุ้มขึ้นมา ให้เบี่ยงเบนความสนใจเอาของเล่นมาเล่นโชว์ลูกอย่างสนุกสนาน หรือ ทำท่าตลกๆให้ลูกดู แต่อย่าอุ้มลูกขึ้นมา ต้องอดทนฟังเสียงร้องไห้ของลูกบ้าง เขาจะไม่รู้สึกแย่ หรือ กลายเป็นเด็กขี้โมโห หรือ กลายเป็นเด็กขาดความอบอุ่นหรอกค่ะ เพราะเรายังอยู่ตรงนั้นกับเขา และกำลังให้ความสนใจเขาอยู่

ขอบคุณบทความดีๆจาก คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ค่ะ

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page