fbpx
เฮลท์แลบ คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
Follow us :
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

มารู้จักโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงกันค่ะ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก่อนจะพูดกันเรามารู้จักการทำงานของกล้ามเนื้อกันคร่าวๆก่อนนะคะ การทำงานของกล้ามเนื้อ จะเริ่มต้นจากเซลล์สมองสั่งการทำงานไปยังเส้นประสาทโดยการหลั่งสารเคมี  เมื่อเส้นประสาทได้รับสารเคมีก็จะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งไปยังกล้ามเนื้อ แต่เส้นประสาทไม่ได้ติดต่อกับกล้ามเนื้อโดยตรง แต่จะมีช่องเล็กๆที่เรียกว่า Neuromuscular junction. ซึ่งเซลล์ของปลายประสาทจะหลั่งสารเคมี ที่เรียกว่า Acetylcholine สารเคมีจะไปออกฤทธิ์ที่ receptor บนเซลล์กล้ามเนื้อทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหดตก เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อ  ดังรูปค่ะ

acetylcholine_01

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Myasthenia Gravis (MG)

เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก เชื่อว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ ภาวะความผิดปกติของต่อมธัยมัสและยังสัมพันธ์กับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ผิดปกติอีกหลายชนิด เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อที่สามารถควบคุมได้ เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา หน้าผาก  หนังตา เกิดมีอาการอ่อนแรง ซึ่งการอ่อนแรงนี้จะเกิดขึ้นเป็นพักๆ อาการมากน้อยขึ้นอยู่กับการใช้กล้ามเนื้อนั้นๆ ดังนั้นจึงพบว่าผู้ที่เป็นโรคจะมีอาการในช่วงสาย ๆ จนถึงบ่าย จนได้หยุดพักอาการจะดีขึ้น ส่วนสาเหตุมาจากร่างกายเราสร้างภูมิคุ้มกันทำลาย receptor บนกล้ามเนื้อ ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อไม่ทำงานแม้ว่าจะมีการหลั่งสารเคมีตามปกติ ภูมิคุ้มกันจะเกิดเมื่อร่างกายได้รับสารแปลกปลอม เช่น เชื้อแบคทีเรีย แต่สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่างกายสร้างภูมิต่อต้าน receptor ตัวเองเราเรียก โรค หรือ ภาวะ autoimmune disease

อุบัติการณ์จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่ในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีจะพบในผู้ชายมากกว่า

อาการของโรค

  • หนังตาตก อาจเกิดข้างเดียวหรือสองข้าง
images (1)
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  • พูดไม่ชัดหรือพูดแล้วเหมือนเสียงขึ้นจมูก
  • เคี้ยว กลืนอาหารลำบาก
  • กล้ามเนื้อ แขน ขา อ่อนแรงง่าย
  • หายใจลำบากในรายที่เป็นมากขึ้น อาจลุกลามไปยังกล้ามเนื้อกระบังลมซึ่งควบคุมการหายใจทำให้เกิดการหายใจล้มเหลว บางครั้งอาจเกิดการสำลักอาหารได้

ลักษณะการดำเนินของโรค

ลักษณะการดำเนินโรคจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะค่อยเป็นค่อยไปโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ของการดำเนินโรคในช่วงแรกแต่บางครั้งอาการของโรคจะเป็นมากขึ้นจากบางภาวะเช่น ภาวะการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การได้รับยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อการทำงานของตัวรับสารสื่อประสาทของกล้ามเนื้อภาวะเครียดและพักผ่อนน้อย

การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ

  • การเจาะเลือดหา Acetylcholine Receptor Antibody ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 85 จะพบภูมิดังกล่าว
  • ผู้ป่วยร้อยละ40-70ของผู้ป่วยกลุ่มที่ให้ผลลบกลุ่มแรกจะให้ผลบวกต่อการทดสอบนี้ Anti-MuSK Antibody testing
  • Tensilon® test เป็นการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือดดำ จะพบว่ากล้ามเนื้อจะมีแรงดีขึ้นทันที
  • Electromyography – (EMG)เป็นการทดสอบคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อจะพบลักษณะเฉพาะของโรค
  • Single Fiber EMG การทดสอบไฟฟ้ากล้ามเนื้อซึ่งจะให้ลักษณะเฉพาะ

การรักษา

การได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรคก็จะช่วยลดภาวะเสี่ยงของโรคที่อาจลุกลามมากขึ้นได้ ซึ่งประกอบด้วยการตรวจกระแสไฟฟ้าประสาทและกล้ามเนื้อเพื่อดูการทำงานของกล้ามเนื้อหลังจากที่ถูกกระตุ้นซ้ำๆ คล้ายกับการให้ผู้ป่วยออกแรงทำงานมาก ๆ การตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูภาวะการทำงานของต่อมธัยมัสที่ผิดปกตินอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการส่งตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูภาวะโรคภูมิคุ้มกันบางชนิดที่สัมพันธ์กับภาวะโรค MG ด้วย

  • การรักษาด้วยการใช้ยา มีทั้งลดการทำลาย Acetylcholine กดการสร้าง และต่อต้านภูมิคุ้มกัน
  • การผ่าตัดต่อม thymus เพราะเชื่อว่าต่อมนี้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตนเอง พบว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis จะมีเนื้องอกที่ต่อม thymus
images (2)
  • Plasmapheresis เป็นการถ่ายเลือดหรือที่เรียกว่าล้างเลือดเอาภูมิออกจากร่างกาย กล้ามเนื้อจะมีแรงขึ้นทันที มักจะใช้กรณีที่มีอาการกำเริบแบบเป็นหนัก

MG เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมอาการของโรคให้สงบและสามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้การรักษาจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายตามอายุความรุนแรงและอาการแสดงของโรคซึ่งในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรค MG นั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังจากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและมาติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

สนใจการตรวจสุขภาพสอบถามได้ที่ healthlabclinic หรือ มหาชัยทีแแอลซี

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไตวาย
ไตวาย... ตายไว
เรามารู้จักก่อนกับอวัยวะที่เรียกว่าไตกันก่อน...
1200x628-ตรวจเลือดก่อนศัลยกรรม-2
ตรวจเลือดก่อนผ่าตัด หรือ ศัลยกรรม ตรวจอะไรบ้าง?
ทำไมต้อง ตรวจเลือดก่อนผ่าตัด...
sle
SLE ( Systemic Lupus Erythematosus )
หากพูดถึง “โรคพุ่มพวง”...

บทความยอดนิยม

CPK-สำคัญไฉน
CPK (Creatinine Phosphokinase) คืออะไร?
กลับมาพบกันอีกครั้ง ช่วงนี้อากาศเริ่มร้อนแล้วท่านผู้อ่านเป็นอย่างไรกันบ้างครับ...
ตรวจเลือด กินน้ำ ได้ไหม
เจาะเลือด ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ กินน้ำ ได้ไหม ?
ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ กินน้ำ...
ไวรัสตับอักเสบ บี แปลผลอย่างไร?
ไวรัสตับอักเสบ บี แปลผลอย่างไร?
ลูกค้าหลายคนตรวจ ไวรัสตับอักเสบ...
มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page