การตรวจสุขภาพ หัวใจ ไม่ได้ตรวจ #EKG ได้อย่างเดียวนะคะ ตรวจสุขภาพหัวใจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (#ECHO) การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะเดินสายพาน (#EST) และยังมีการตรวจเพื่อพยากรณ์หรือเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจได้ด้วยการตรวจเลือดดู marker ต่าง ๆ
การตรวจสุขภาพ หัวใจ มีอะไรบ้าง
>> การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะเดินสายพาน (EST) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่หัวใจกำลังทำงานหนัก ซึ่งมักจะใช้ในการวินิจฉัยหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ การตรวจนี้มักตรวจในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และในผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอกบ่อย ๆ ค่ะ
>> การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO) ใช้ตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ โดยใช้การสะท้องกลับของคลื่นความถี่สูง เพื่อดูรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้ทราบการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ แต่วิธีนี้จะไม่เห็นเส้นเลือดหัวใจนะคะ ใช้วินิจฉัยโรคหัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ มักตรวจในผู้ที่มีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก หรือหัวใจเต้นผิดปกติค่ะ
>> การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการตรวจเบื้องต้น เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจ ใช้ในการวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจหนา กล้ามเนื้อหัวใจหรือห้องหัวใจโต เส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือแม้แต่ปริมาณเกลือแร่ผิดปกติ ซึ่งการตรวจนี้มักตรวจในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และในผู้ที่มีอาการเหนื่อยง่ายและเจ็บหน้าอก หรือผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
การตรวจเลือด เพื่อประเมิน สุขภาพหัวใจ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
นอกจาก 3 วิธีข้างต้นแล้ว ยังมีการ #ตรวจเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ได้นะคะ โดยการตรวจ น้ำตาล (FBS/ HbA1c), ไขมัน (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL), ความดัน (BP) ไต (Urine, BUN, Creatine), ตับ (AST, ALT, ALP, Bilirubin T&D, Total protein, Albumin, Globulin), เกลือแร่ (Calcium, Phosphate, Electrolyte), ดูการอุดตันของหลอดเลือด (Homocysteine) เพราะยิ่งอุดตันมากเท่าไหร่ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น, ดูค่าการอักเสบของหัวใจ (hs-CRP) เนื่องจากเป็น marker ที่จำเพาะกับการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดแดงแข็งหรือตีบตัน หรือแม้กระทั่งภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน, การตรวจเอนไซม์ที่เกิดจากการสลายกล้ามเนื้อ (CPK) มักใช้ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย สาเหตุการเจ็บหน้าอก การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเฉียบพลัน หรือใช้ตรวจสอบว่ากล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายไปมากน้อยแค่ไหน การตรวจจากเลือดทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน หลายท่านจึงนิยมตรวจจากเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยง หากพบความผิดปกติจึงตรวจที่จำเพาะมากขึ้น เพื่อทำให้สามารถ scope รายการตรวจที่ Special นั้นแคบลงและเสียเวลารวมทั้งค่าใช้จ่ายน้อยลง
ดังนั้นการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลเป็นประจำ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะช่วยประเมินหรือพยากรณ์โรคต่างๆได้ง่ายขึ้น เพื่อหาสาเหตุและรักษาที่ทันท่วงที นอกจากนี้ในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ อาจจะเพิ่มรายการตรวจต่าง ๆ ข้างต้นเพิ่มเข้าไปด้วยก็ได้นะคะ