เมื่อความแก่ ไม่เข้าใครออกใคร เพราะความแก่เป็นเรื่องธรรมชาติ แล้ว DHEAs มาเกี่ยวอะไรด้วย
พูดถึงความแก่ คงไม่มีใครอยากพบเจอ สัมผัส หรือทำความรู้จักกับมัน(เลย) ใครๆก็อยากสวย ผิวเด้ง หน้าใส ไปตลอดชีวิต อยากรู้มั้ยว่ามีฮอร์โมนอยู่ตัวนึงที่มันสามารถเช็คความเสื่อมของคุณได้ลึกถึงระดับเซลล์กันเลยทีเดียว ในยุคปัจจุบันที่คนเราพยายามคนคว้าหาวิธีชะลอวัยไม่(ยอม)แก่ กันแบบหนักหน่วง จนบางทียอมจ่ายเงินมากมายเพื่อทำ…สวย ตึง ตรงไหนๆก็ห้ามหย่อน เอ้า !!! มาทำความรู้จักกันนิดนึง มันมีชื่อว่า DHEAs
DHEAs ( Dehydroepiandrosterone sulfate ) ถูกสร้างขึ้นที่ต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนเริ่มต้นที่มีมากที่สุดในร่างกาย เป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ที่มีบทบาทในการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ androgen ในเพศชาย และ estrogen ในเพศหญิง มาดูคุณสมบัติของ DHEAs กันนะคะ
ช่วยต้านความแก่ชรา หรือช่วยชะลอวัย
เมื่อเราอายุมากขึ้น จะเกิดการเสื่อมถอยของเซลล์ ไม่ว่าจะจากสารอนุมูลอิสระ หรือปัจจัยภายนอก แต่ไม่ว่าจะจากกรณีใด ๆ ก็ตามย่อมนำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ที่ลดลงเช่นกัน และ DHEAs ก็จะลดลงเช่นกัน ทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศก็ลดลง ไม่ว่าจะฮอร์โมนเพศชาย (Androgen, Testosterone) หรือหญิง (Estrogen) นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเสื่อมถอยของเนื้อเยื่อ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด
จากการศึกษาพบว่า “ พบว่าในคนที่มีอายุยืนยาว จะมีระดับ DHEAs ในร่างกายสูง ”
ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
DHEAs กระตุ้นการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาว T-cell ที่ไขกระดูก สร้าง interleukin-2 ความคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้ร่างกายแข็งแรง ความเจ็บป่วยลดลง
ความสัมพันธ์ของ DHEAs กับโรค
จากการศึกษาพบว่า “ DHEAs ในคนสุขภาพดีจะสูงกว่าคนเป็นโรคที่เกี่ยวข้องนี้ประมาณ 4 เท่า ”
DHEAs จะเพิ่มสูงสุดตอนอายุ 20-29 ปี แล้วจะค่อยๆลดระดับลงเมื่ออายุมากขึ้น และต่ำสุดที่อายุมากกว่า 60 ปี จึงถูกนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดความชรา ระบุความเสื่อมถอยของเซลล์ เพราะมีความแปรผกผันกันระหว่าง DHEAs กับอายุ
- โรคที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของไขมันในหลอดเลือด โรคหัวใจซึ่งสัมพันธ์ในเพศชาย
- โรคมะเร็ง พบว่าในคนที่มี DHEAs ต่ำจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น เช่น มะเร็งเต้านมในหญิงวัยหมดประจำเดือน มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย
- โรคกระดูกพรุน ในเพศหญิงพบความสัมพันธ์ของ DHEAs กับความหนาแน่นของกระดูกแปรผันตรงกันคือ DHEAs สูง ความหนาแน่นของกระดูกก็สูงตาม จึงใช้บ่งชี้ความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
- โรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาสุขภาพจิต พบว่ามีความสัมพันธ์ชัดเจนจากการลดลงของการหลั่ง DHEAs
- ภาวะบกพร่องทางปัญญาและภาวะสมองเสื่อม พบว่า DHEAs ลดลงสัมพันธ์กับความผิดปกติของโรคเช่น อัลไซเมอร์ หรือภาวะกดดันภายในจิตใจ
DHEAs จะมีบทบาทตรงข้ามกับ Cortisol (ฮอร์โมนความเครียด) เนื่องจาก Cortisol ที่สูงบ่งชี้ถึงสภาวะความเครียด ทำให้สูญเสียกระบวนการรับรู้ ประมวลผล นอกจากนี้ยังกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลงด้วย จึงได้มีการนำมาใช้ลดผลกระทบจาก cortisol ต่อร่างกาย
ปัจจุบันจึงถูกนำมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อตอบสนองความต้องการ เนื่องจากคุณสมบัติของ DHEAs ช่วยในการชะลอวัย ลดการสะสมไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันมะเร็ง และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมอง
อยากรู้แล้วใช่มั้ยว่า DHEAs ของตัวเองลดล้ำหน้าเกินวัยไปหรือเปล่า
สนใจการตรวจสุขภาพสอบถามได้ที่ healthlabclinic หรือ มหาชัยทีแแอลซี