fbpx
เฮลท์แลบ คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
Follow us :
การตรวจโควิดในปัจจุบันมีแบบไหนบ้าง

ตรวจโควิด ในปัจจุบันมีแบบไหนบ้าง

ตรวจโควิด ในปัจจุบันมีแบบไหนบ้าง?

และเราควร ตรวจโควิด แบบไหนดี? วันนี้แอดจะมาแนะนำ เพื่อให้หายข้องใจกัน ^_^

1. การตรวจหาเชื้อ โควิด

📍การตรวจด้วยวิธี RT-PCR เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส

⭐การตรวจแบบ #RT-PCR นี้ถือว่าเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจหา #เชื้อโควิด 19 ในปัจจุบัน โดยมีหลักการตรวจแบบขยายจำนวนเชื้อหรือสารพันธุกรรมของไวรัสมาเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น ถ้ามีเชื้ออยู่ ก็เพิ่มจำนวนให้มากขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ โดยจะโชว์ค่า #CT ซึ่งหรือรอบของการทำ PCR นั่นเอง ยิ่ง CT ที่ต่ำแสดงถึงจำนวนเชื้อที่มาก แสดงถึงการมีเชื้อน้อยๆ ก็สามารถตรวจเจอได้

⭐สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ 3-5 วัน ทั้งที่ยังไม่มีอาการ

⭐เก็บสิ่งส่งตรวจ #Nasopharyngeal swab (นิยมมากกว่า) หรือ #Throat swab ซึ่งเก็บยากกว่า ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญในการเก็บสิ่งส่งตรวจ

⭐ใช้เวลาในการตรวจค่อนข้างนาน

⭐ปัญหาที่พบอีกเรื่องคือ สำหรับคนที่หายแล้ว แต่ยังสามารถตรวจพบซากเชื้ออยู่ได้นานถึง 50 วัน (จากการศึกษา) รู้ได้ยังไงว่าเป็นซากเชื้อ รู้เพราะว่า ลองเอาเชื้อไปเพาะหรือเลี้ยงเชื้อให้โต เหมือนปลูกต้นไม้ แต่มันไม่โต หรืองอกขึ้นมานั่นเอง

📍การตรวจด้วยวิธี Rapid test Antigen

⭐การตรวจแบบนี้ #Rapid test มีข้อจำกัดว่าสามารถตรวจได้แค่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่สั้น ๆ คือ หลังติดเชื้อวันที่ 5-7 เท่านั้น ที่จะพบว่ามีเชื้อปริมาณมากพอที่จะตรวจพบได้ ซึ่งต่างจากการตรวจแบบ RT-PCR ที่ตรวจได้ตั้งแต่เพิ่งติดเชื้อได้เพียง 3-5 วัน และยาวไปจนถึง 14 วัน หรือนานกว่านั้น เพราะฉะนั้นการตรวจแบบนี้ อาจจะส่งผล False neagtive หรือผล “ลบลวง” ได้ หมายถึงมีเชื้อจริง แต่น้อยจนตรวจไม่พบ

⭐เก็บสิ่งส่งตรวจ Nasopharyngeal swab (นิยมมากกว่า) หรือ Throat swab ซึ่งเก็บยากกว่า ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญในการเก็บสิ่งส่งตรวจ

⭐ได้ผลเร็วกว่าประมาณ 15-20 นาที

⭐การตรวจด้วยวิธีนี้ จำเป็นต้องให้ข้อมูลกับผู้รับบริการให้ครอบคลุมนะคะ

2. การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด

การตรวจแบบนี้เป็นการตรวจดูว่า มี #ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด หรือไม่

ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ จะถูกร่างกายสร้างขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อนั้น ๆ ในร่างกาย แล้วร่างกายจำเป็นต้องสร้างเกราะป้องกัน หรือที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับเชื้อโรคขึ้นมา

เพราะฉะนั้นอนุมานได้ว่า คนที่ตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันขึ้นมา แสดงว่า ติดเชื้อนั้นมาแล้ว อย่างน้อย 7-10 วันขึ้นไป

ทำไมถึงเป็น 7-10 วัน ก็เพราะว่า ร่างกายจะใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกัน หลังติดเชื้อแล้วประมาณ7-10 วันนั่นเอง แต่กว่าภูมิจะขึ้นสูงในระดับที่ตรวจเจอ อาจจะต้องรอไปเป็น 10-14 วันเลยทีเดียว และในปัจจุบันก็ยังไม่รู้ว่าภูมิคุ้มกันตัวนี้จะอยู่ไปยาวแค่ไหน

📗 การตรวจแบบ Rapid test Antibody

การตรวจแบบนี้เป็นการตรวจเชิงคุณภาพ บอกว่ามีหรือไม่มีภูมิ ก็อาจจะบอกได้ว่าติดเชื้อมาแล้ว เกิน 7-10 วัน ควรจะไปตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำอีกครั้งนะคะถ้าต้องการตรวจว่าติดเชื้อโควิดมาหรือเปล่า การตรวจแบบนี้มีข้อจำกัดอยู่นะคะ

☀️ตรวจได้หลังสัมผัสเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน เพราะถ้าเพิ่งเสี่ยงมาหรือติดเชื้อมา ร่างกายอาจจะยังไม่สร้างภูมิต้านทาน หรือสร้างมาแล้ว แต่ยังไม่มากพอ

☀️ในกรณีที่รับวัคซีนมาแล้ว การตรวจแบบนี้จะบอกไม่ได้ว่าเกิดภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อมาเอง หรือจากการรับวัคซีน เพราะฉะนั้นถ้าต้องการตรวจเพื่อเช็คว่าติดเชื้อมาหรือเปล่าหลังรับวัคซีน วิธีนี้ใช้ไม่ได้ค่ะ

📕 การตรวจแบบ #Covid 19 Antibody

เป็นการตรวจเชิงปริมาณ สามารถบอกได้ว่ามีภูมิคุ้มกันมากแค่ไหน ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการตรวจหาภูมิหลังมีการรับวัคซีนไปแล้ว แต่ในตอนนี้การตรวจแบบนี้ค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด แค่บางโรงพยาบาลเท่านั้น

🔸 การตรวจประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อโควิด Covid 19 Neutralizing (NT) Antibody

เป็นการตรวจที่บอกประสิทธิภาพการต่อสู้กับเชื้อโควิด หรือยับยั้งเชื้อโควิดเข้าสู่เซลได้กี่เปอร์เซ็น

* เรามาเลือกการตรวจโควิดให้ถูวิธีกันดีกว่านะคะ *

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page