สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านมิตรรักแฟนคอลัมภ์ทั้งหลาย ครูเกรซหายไปอีกแล้ว ส่วนหนึ่งของข้ออ้าง ก็คือเรื่องงาน แต่อีกส่วนก็คือ ไปเที่ยวแอ่วเหนือมา แอ่วไปแอ่วมา ท่าจะใจแตก ไม่อยากกลับมาทำงานกันเลยทีเดียว หนนี้เรามาจบเรื่อง ‘ลมหายใจ’ และท่าศพ อันเป็นแก่นสำคัญของโยคะ ว่าทำไมโยคะต้องเน้นหายใจ และมีท่าศพไปทำไม
บทความครั้งที่แล้ว เราได้พูดเรื่องการฝึกหายใจในท่านั่ง อันได้แก่ การฝึกลมหายใจ
ฝึกในท่านั่ง
- เริ่มจากการสังเกตุลมหายใจตนเองสักครู่
- หายใจหน้าท้อง เข้าท้องพอง ออกท้องแฟบ 10 รอบ
- หายใจทรวงอก เข้าแอ่นอก ยกไหล่ ออกทรวงอกปิด 10 รอบ
- หายใจ 1 ต่อ 2 (เช่น เข้า 5 ออก 10 วินาที) 10 รอบ
- หายใจสลับรูจมูก 10 รอบ
- หายใจอุชชายี เปล่งเสียงในลำคอ 10 รอบ
- ปิดท้าย นั่งสงบสักครู่
และการฝึกหายใจ ยังมีอีก ดังจะแนะนำต่อในวันนี้
การหายใจแบบมุทรา-พันธะ คือการกด ล็อค
- เน้นการกด ล็อคอวัยวะภายใน
- กุญแจสำคัญคือ กล้ามเนื้อกึ่งอัตโนมัติ
- เอื้อต่อ การฝึกปราณายามะ
และการฝึกท่าศพ
เราฝึกท่าศพเพื่อ
- กายผ่อนคลาย
- จิตอยู่กับร่างกาย
- มีความรู้สึกตัวตลอด
- จิตไม่ฟุ้งออกไปข้างนอก
- จิตไม่เผลอหลับไป
เปรียบเทียบกันระหว่างการนอนหลับทั่วไป กับการทำท่าศพ
การนอนหลับทั่วไป
- กายผ่อนคลาย (ตกหมอนคอเคล็ด?)
- จิตใจ ดำเนินไปตามธรรมชาติ
- จิตใจดีขึ้นหรือเปล่า ?
การทำท่าศพ
- กายผ่อนคลาย
- ประคองจิต รู้สึกตัวตลอดเวลา
- จิตแจ่มใส เบิกบาน
ความแตกต่างระหว่าง หลับ vs ท่าศพ ท่าศพ มีการจัดการจิต รวมจิตไว้กับกาย ทำแล้วกาย-จิต สมดุลขึ้น
ลักษณะสำคัญของการฝึกโยคะ
โยคะคือการประคองจิตไว้ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้เผลอหลับ ผู้ไม่เข้าใจแก่นโยคะ คิดว่าโยคะคือการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง
ผู้เข้าใจแก่นโยคะ ตระหนักว่าโยคะคือการบริหารจิต
ธรรมชาติของจิต
- ฟุ้งซ่าน ไม่อยู่นิ่ง ตกลงสู่กามทั้ง 5
- ชอบคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดี
- โลกปัจจุบัน คนถูกบังคับให้คิดมากเกินไป ข้อมูล โฆษณา ฯลฯ
- เราจึงควรหาโอกาสทำให้จิตนิ่งลงบ้าง
- เป็นการบริหารจิต
- เรียกว่า โยคะ
*** ปตัญชลีกล่าวว่าคุณประโยชน์ของปราณายามะสามารถทำลายอวิชชาที่เคลือบจิต นำเราออกจากความมืดมิด ไปสู่การหยั่งรู้ตนเอง
จบเรื่องทางจิตแล้ว บทความชิ้นต่อไป อันเป็นชิ้นที่ 7 เรามาว่ากันเรื่องทางกายบ้างว่า ท่าโยคะท่าใดบ้างที่ช่วยการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย