fbpx
240530 ภูมิแพ้กับความไวต่ออาหาร ต่างกันอย่างไร

ภูมิแพ้ กับ ความไวต่ออาหาร ต่างกันอย่างไร?

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านที่น่ารัก วันนี้เรามาพูดถึง “โรค ภูมิแพ้” โรคยอดฮิต ที่ไม่มีใครอยากฮิตเป็นโรคนี้แน่นอน ไม่ว่าจะแพ้อาหาร หรือแพ้สิ่งที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นทันที หรือภายใน 2 ชม. หลังสัมผัสสิ่งกระตุ้นให้แพ้ (Allergen) กินยาแก้แพ้แล้วอาการจะดีขึ้นหรือหายไป

อาการ และ ผลกระทบของ โรค ภูมิแพ้

อาการของโรคนี้มักรบกวนชีวิตประจำวันตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรง เป็นได้ตั้งแต่อายุน้อยแบบเบ่บี๋ที่อายุหลักเดือน ไปจนถึงผู้ใหญ่กันเลย และที่สำคัญอีกอย่าง โรคภูมิแพ้ในปัจจุบัน ยังไม่มียาหรือการรักษาที่หายขาด สิ่งที่ดีที่สุดคือการ ลด-ละ-เลี่ยง ไปจนถึงเลิกกิน เลิกสัมผัสกันเลย บางอย่างก็เหมือนจะเลี่ยงง่าย เช่น แพ้อาหารบางชนิด กุ้ง ไข่ แต่สำหรับบางอย่างมันเลี่ยงยาก เช่น เด็กทารกที่แพ้นม แต่สำหรับแอดแล้ว ถ้าเราแพ้สิ่งที่อยู่ในอากาศ เช่น แพ้อากาศ อากาศเปลี่ยน แพ้ฝุ่น หรือโดยเฉพาะ PM2.5 มันช่างเลี่ยงยากจังเลยค่ะ เพราะเราต้องหายใจเอาเจ้าพวกนี้เข้าไปสู่ปอดเราทุกวัน ตราบใดที่ประเทศเรายังไม่สามารถจัดการกับปัญหามลพิษทางอากาศนี้ได้ เราก็คงทำได้แค่จัดการตัวเองไปก่อนล่ะค่ะ

ภูมิแพ้ - allergy

กลไกการเกิดโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ มีกลไกการเกิดจากการมี Allergen หรือบางสิ่ง ไปกระตุ้น Immune system ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการแพ้ โดยในครั้งแรกที่ร่างกายได้รับ ร่างกายจะจดจำไว้ก่อนว่า Allergen นั้น ๆ กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีชนิด IgE (Immunoglobulin E) จับกับ Mass cell เกิดเป็น Immune complex หลังจากนั้นหากมีการสัมผัส หรือกิน Allergen นั้นอีกครั้ง Immune complex นั้น จะเข้าจับกับ Allergen นั้นแล้วจะหลั่ง Histamine แสดงอาการแพ้ออกมาค่ะ ซึ่งอาการที่แสดงออกมาก็จะแตกต่างกันออกไป

การตรวจและการจัดการโรคภูมิแพ้

ใครที่รู้ว่าตัวเองแพ้ Allergen ตัวไหน ไม่ว่าจะมาจากการสังเกตตัวเอง หรือการตรวจเช็กจะเป็น Allergy test หรือ Skin test สิ่งที่ควรทำคือจัดการที่ต้นเหตุ หลีกเลี่ยงการกิน การสัมผัสสิ่งนั้นไปเลย เพราะการกินยาเป็นการรักษาตามอาการเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การกินยาบ่อย ๆ มีโอกาสที่จะทำให้อวัยวะตับ ไต เสื่อมพัง เร็วขึ้น ยาที่กินบ่อย ๆ อาจจะเริ่มไม่ได้ผล นำมาซึ่งการเพิ่มโดส ดื้อยาอีกด้วยนะคะ

ความไวต่ออาหาร (Food Sensitivity) คืออะไร?

นอกจากโรคภูมิแพ้แล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงอีก 1 โรคค่ะ ที่มีอาการคล้าย ๆ กับภูมิแพ้ แต่อาการจะเป็นลักษณะแบบเรื้อรัง กลไกการเกิดที่แตกต่างกันด้วย โรคชนิดนี้เกิดจากความไวต่ออาหาร หรือที่เรียกว่า Food Sensitivity อาการจะเกิดขึ้นหลังกินอาหารนั้น ๆ ไปแล้วประมาณ 24 ชม. มักจะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน หรือ Immune system เช่นกันกับ Allergy แต่สร้างแอนติบอดีคนละชนิดคือ สร้าง Immunoglobulin G (IgG) ขึ้นมา โดยมีกลไกการเกิดเริ่มจากการกินอาหารบางชนิด ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนเกิดลำไส้รั่ว หรือ Leaky gut อาหารเหล่านั้นแทรกเข้าสู่เลือด ร่างกายตอบสนองด้วยการสร้าง IgG เกิดเป็น Immune complex ไปเกาะตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตามข้อ กระดูก ประสาท ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการได้หลากหลายอวัยะ เช่น ผื่นคัน ลมพิษ เหนื่อยล้า ท้องอืด-เฟ้อ กรดไหลย้อน หอบหืด ปวดหัวไมเกรน น้ำหนักตัวเพิ่ม อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ไปจนอาการทางสมองคือ หลง ๆ ลืม ๆ (Brain frog)

จะจัดการอย่างไร? เมื่อเป็น โรคความไวต่ออาหาร

การเกิดความไวต่ออาหารนี้ ไม่จำเป็นต้องเลี่ยงอาหารชนิดนั้นตลอดชีวิต แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเป็นสาเหตุของการเกิดอาการไวต่ออาหาร เราจำเป็นต้องงดอาหารเหล่านั้นตามคำแนะนำ อาจจะ 1-3 เดือน เพื่อให้อาการดีขึ้น ก็สามารถกลับมากินอาหารชนิดนั้นได้เหมือนเดิม ซึ่งแตกต่างจากการเป็นภูมิแพ้ ที่คุณไม่ควรกลับมากินมันอีก เพราะจะทำให้กลับมามีอาการแพ้ทันที เมื่อกลับมากิน

ควรเลือกตรวจแบบไหน? และ ดูแลสุขภาพอย่างไร?

แอดมินขออนุญาตให้คำแนะนำเพื่อประเมินว่า เราจะเลือกรายการตรวจเป็น Allergy IgE หรือ Food sensitivity IgG แบบไหนดี เนื่องจาก 2 โรคนี้มีอาการ และความแตกต่างกันอยู่ และราคาที่ต่างกันเยอะพอสมควร บางคนบอกว่ายุคสมัยนี้เหมือนหาเงินง่ายขึ้น แต่อย่าลืมว่าก็จ่ายออกง่ายเหมือนกัน ไหนจะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกปีอีก คงต้องเลือกตรวจแบบใดแบบหนึ่งเพื่อแยกโรคก่อนเพื่อวิธีการจัดการตัวเองเพราะมันรบกวนชีวิตประจำวัน

เริ่มต้นคือหากอาการนั้นเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ กินยาแก้แพ้แล้วไม่ดีขึ้น หรืออาการหายไป คุณควรตรวจ Food sensitivity IgG เพื่อเลี่ยงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ตามคำแนะนำ แล้วสามารถกลับมากินใหม่ได้เมื่ออาการดีขึ้น

แต่ถ้ากินยาแก้แพ้แล้วอาการหายไป ควรตรวจ Allergy IgE ค่ะ เพื่อให้รู้ว่าแพ้อะไร แล้วเลี่ยงสิ่งนั้นทันที ไม่กินสิ่งนั้นอีก

สรุป

มาถึงตรงนี้ อยากจะบอกว่ามีคนที่มีอาการภูมิแพ้ และ ความไวต่ออาหาร มากขึ้น จากพฤติกรรมการกินอาหารเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ใส่สารปรุงแต่งเยอะ รวมไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกันของคนเราลดต่ำลง ทำให้เจอผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งอาการมันรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันพอสมควร ตรวจแยกโรคเพื่อรู้และดูแลตัวเองกันนะคะ

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page