ฮอร์โมนไทรอยด์ กับ ผู้หญิง เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
วันนี้เราจะมาพูดถึง ผู้หญิง กับ ฮอร์โมนไทรอยด์ กันค่ะ บางคนอาจจะบอกว่า แอดมินเขียนฮอร์โมนไทรอยด์มาบ่อยแล้ว อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพราะวันนี้เราจะมาพูดถึงภาพรวมของฮอร์โมนตัวนี้กันค่ะ
ฮอร์โมนไทรอยด์ มีหน้าที่อะไร?
ฮอร์โมนไทรอยด์ อยู่ในการควบคุมของสมองส่วนไฮโปธาลามัสและต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเหมือนผีเสื้อ อยู่บริเวณใต้ลูกกระเดือก มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญพลังงานในร่างกายและมีผลต่อการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ โดยส่วนมากจะมีผลต่อสมองและหัวใจมากที่สุด รวมไปถึงการรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด อารมณ์และความรู้สึก โดยจะแสดงออกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยที่เข้าสู่การมีประจำเดือน จะมีการแสดงออกที่ชัดเจน เช่น สิวขึ้น น้ำหนักขึ้น น้ำหนักลด ผมร่วง อารมณ์ร้อน หงุดหงิดและความรู้สึกน้อยใจ เป็นต้น ซึ่งไขมันเป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตฮอร์โมนทุกตัว รวมถึงฮอร์โมนไทรอยด์ด้วย และไขมันนี้ได้มาจากการกินอาหารนั่นเอง
ฮอร์โมนไทรอยด์ ทำงานมากเกินไป จะเป็นอย่างไร?
เราเคยสงสัยไหมว่า เพื่อนเราที่ผอมทำไมกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ทั้งที่กินด้วยกันกินเหมือนกัน ไม่ได้ออกกำลังกายหรือลดน้ำหนักเลยแต่หุ่นดี ซึ่งแน่นอนว่าบางคนอาจเพราะกรรมพันธุ์ หรือบางคนอาจจะเกี่ยวกับระบบเผาผลาญในร่างกาย ผลจากที่ฮอร์โมนไทรอยด์มีการทำงานมากนั่นเอง ดังนั้นเมื่อตรวจระดับไขมัน อาจพบว่ามีไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติได้ สำหรับคนที่ฮอร์โมนไทรอยด์มีการทำงานมาก ส่งผลให้เรื่องของน้ำหนักตัวถือว่าเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องทำอะไรก็ผอมได้ แต่เรื่องอื่น ๆ ถือว่าเป็นเรื่องยากเพราะจะมีภาวะอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้อน ขี้น้อยใจ นอนหลับยากหรือนอนหลับไม่สนิท ผมร่วงมากผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ มือไม้สั่น หอบเหนื่อย หรือส่งผลถึงความจำได้ โดยเฉพาะก่อนมีประจำเดือน เพราะเราอยากจะกินทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นของทอดของมัน ขนมจุบจิบ น้ำหวาน ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารโดยเฉพาะไขมันไปช่วยเพิ่มการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาใช้มากขึ้น ซึ่งก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน (PMS) เช่นกัน
ฮอร์โมนไทรอยด์ ทำงานมากเกินไป จะมีอาการอย่างไร?
คนที่มีการทำงานของไทรอยด์มากนั้นจะมีอาการบางอย่างคล้ายภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ดังนั้นเราควรหมั่นสังเกตตัวเอง อย่าพึ่งดีใจคิดว่าโชคดีที่เป็นคนผอม หากมีอาการผิดปกติ เช่น เป็นไข้ น้ำหนักลดหรือน้ำหนักขึ้นอย่างผิดปกติแม้กินในปริมาณที่ปกติ เหงื่อออกง่าย ผมร่วงมากเกินปกติ หอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อประเมินความผิดปกติของฮอร์โมนตัวนี้และควรปรึกษาแพทย์ โดยโรคไทรอยด์ที่พบได้บ่อยคือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โรคคอพอก โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติและมะเร็งต่อมไทรอยด์ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
อ่านถึงตรงนี้แล้ว เราลองสังเกตตัวเองว่ามีอาการของภาวะไทรอยด์ทำงานมากหรือไม่ หากมีสามารถแก้ไขเบื้องต้นโดยการปรับสมดุลของฮอร์โมนเพื่อลดปัญหาสุขภาพกายและจิตใจที่จะส่งผลต่อตัวเราเองและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งสามารถทำได้โดยการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง การฝึกสมาธิเพื่อควบคุมอารมณ์และสติ การทานอาหารที่ปรุงสุกให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ลิตรต่อวัน พักผ่อนให้เพียงพอและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การดูแลความสวยความงาม สุขภาพร่างกายและจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะมีผลต่อการใช้ชีวิตของเรา หากละเลยการดูแลตัวเองอาจจะส่งผลต่อสุขภาพและความสัมพันธ์ของเราในอนาคตได้นะคะ