fbpx
240417 ยาต้านไวรัส HIV

ยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี คืออะไร?

หลังจากที่ทำความเข้าใจระหว่าง เชื้อ HIV กับ โรคเอดส์ ไปแล้ว วันนี้มาทำความรู้จัก ยาต้านไวรัสเอชไอวี กันค่ะ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มียาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันมียาที่สามารถใช้ทานเพื่อป้องกันการติดเอชไอวีและลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ ที่เราเรียกว่า “ยาต้านไวรัสเอชไอวี” ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

ประเภทของ ยาต้านเอชไอวี

ยาต้านเอชไอวี หรือที่เรียกว่า ยา Antiretroviral (ARV) นั้น ถูกแบ่งได้ตามกลไกการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) มีกลไกลการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Reverse transcriptase ที่จะเปลี่ยน RNA ของเชื้อไวรัสเป็น DNA เพื่อใช้ในการเข้าสู่ host cell ซึ่งส่งผลทำให้การเชื่อมต่อสารพันธุกรรมของเชื้อหยุดลง เชื้อไวรัสจึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้ ยาในกลุ่มนี้ เช่น Tenofovir disoproxil fumarate (TDF), Emtricitabine (FTC) เป็นต้น
  2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) กลไกของยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase เช่นเดียวกับยากลุ่ม NRTIs เช่น Efavirenz (EFV), Rilpivirine (RVP)
  3. Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) ยับยั้งกระบวนการ integration โดยในยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ integrase ของเชื้อที่ใช้ในการเชื่อมสาย DNA ของตัวเชื้อเข้ากับ host cell ยาในกลุ่มนี้ เช่น Dolutegravir (DTG), Bictegravir (BIC)
  4. Protease Inhibitors (PIs) รบกวนการทำงานของ Protease ซึ่งทำให้เชื้อไม่สามารถรวมโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ได้ ยาในกลุ่มนี้เช่น Lopinavir+Ritonavir (LPV/r)

ยาในกลุ่ม ต้านไวรัส นี้สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท

1. Pre-exposure prophylaxis (PrEP) คือ ยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อ พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าคุณรู้ว่าคุณกำลังจะไปมีความเสี่ยง เช่น จะไปมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อ HIV หรือแม้แต่กระทั่งคนที่ทำงานกับผู้คน กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์เองก็ตาม ควรรับประทาน PrEP ก่อนที่จะเสี่ยงอย่างน้อย 7 วัน (ขึ้นอยู่กับชนิด) และกินยาเวลาเดียวกันต่อเนื่องในขณะที่มีความเสี่ยงยังมีความเสี่ยงอยู่ ก่อนรับยาต้องใช้ผลตรวจดังต่อไปนี้ Anti-HIV ไวรัสตับอักเสบบี และการทำงานของไต อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะใช้ยา PrEP แล้วก็ตามการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยก็จะเป็นการ double protection ได้ค่ะ

2. Post exposure prophylaxis (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน หรือยาต้านเอชไอวี ผู้ที่จะใช้ยากลุ่มนี้คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงมาแล้ว เช่น มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อมา บุคลากรทางการแพทย์ที่โดนเข็มตำมา โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท NRTIs, NNRTIs, NSTs และ PIs ขึ้นกับแพทย์จะพิจารณา ยากลุ่มนี้จะมีเงื่อนไขที่มากกว่าและรัดกุมกว่าการรับยา PrEP โดยยา PEP ต้องรับภายใน 72 ชม. หลังจากได้รับความเสี่ยงเท่านั้น ถ้าเวลาเกินไปมากกว่า 72 ชม. การใช้ยา PEP จะแทบไม่เกิดประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้รับยาต้องมีการตรวจเลือดดังต่อไปนี้ก่อนการรับยา: Anti-HIV, ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส ค่าการทำงานของไต และค่าเอนไซม์ตับ โดยยา PEP จะต้องทานทั้งสิ้น 28 วัน

สิ่งหนึ่งที่อาจจะพบเมื่อใช้ยากลุ่มต้านไวรัส คืออาการข้างเคียงของ ซึ่งพบได้บ้างในบางราย เช่น รู้สึก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ แต่อาการเหล่านี้จะสามารถหายไปได้เองประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากที่เริ่มรับประทาน และหากรับประทานยาต้านไวรัสเป็นเวลา 6 เดือน ขึ้นไปแพทย์แนะนำให้ตรวจค่าการทำงานของตับ และการทำงานของไต เนื่องจากยาต้านไวรัสส่งผลต่อการทำงานของตับและไต และสำหรับผู้ที่ติดเชื้อควรได้รับการตรวจดูปริมาณของเชื้อเอชไอวี (HIV Viral load) และเม็ดเลือดขาวชนิด CD 4 ค่ะ

ถึงเราจะทราบถึงคุณสมบัติของยาต้านไวรัสว่าดีแค่ไหน วิธีการใช้ยาต้านไวรัสให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้วก็ตาม แต่แอดมินว่า การไม่ติดเชื้อ การป้องกันการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ไม่อยู่ในความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คงจะดีกว่าติดเชื้อแล้วต้องกินยาต้านไวรัสนะคะ เพราะอย่างที่ทราบกันว่า ยังไม่มียาตัวไหนที่รักษาโรคเอดส์ หรือยาที่ฆ่าเชื้อ HIV ได้ตายสนิท หายขาดจากการติดเชื้อได้จริง ๆ จึงอยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ทั้งเพื่อตัวคุณเอง และคนที่คุณรักทุกคนนะคะ

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

You cannot copy content of this page