fbpx
เฮลท์แลบ คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
Follow us :
โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ต้องระวัง

คุณคิดว่ากระดูกคุณเหมือนเนื้อบัตเตอร์เค้กเนื้อแน่น นุ่มลิ้น หรือ เนื้อโหว่ๆ เหมือนลงทุนน้อยไปหน่อย ไม่อร่อยเลย ค่ะแอดมินกำลังเปรียบเปรยลักษณะกระดูกของคนที่มีปัญหา โรคกระดูกพรุน เป็นเนื้อเค้กแบบโหว่ ๆ ไม่นุ่ม และไม่แน่น ทำให้ไม่อร่อย แต่คนที่กระดูกสมบูรณ์ก็จะเป็นเค้กเนื้อแน่น ๆ นุ่ม ๆ กินแล้วเพลิน อร่อย

ที่มาของชื่อโรคกระดูกพรุน เกิดจากกระดูกที่ผุ พรุน จากการเสื่อมสลาย ทำให้มวลกระดูกและความหนาแน่นของกระดูกลดลง กระดูกบางลง จนเกิดการแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ มีอัตราการเสียชีวิตจากกระดูกสะโพกหักเพราะกระดูกพรุนสูง เป็นเรื่องที่น่าเศร้าในผู้หญิง เพราะผู้หญิงมีอัตราเกิดโรคสูงกว่าในผู้ชาย

ตำแหน่งที่พบได้บ่อยๆคือ กระดูกสันหลังซึ่งต้องแบกรับน้ำหนักตัวทั้งหมด ข้อมือ สะโพก แขน ซี่โครง เกิดผลกระทบทำให้หลังค่อม กดทับปอด หายใจได้ไม่เต็มที่ เหนื่อย หอบ ลามไปจนถึงเอ็นอักเสบ ข้อกระดูกเสื่อมจนเดินไม่ได้  จะบอกว่าเป็นโรคของคนแก่ซะทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะด้วยอายุที่มากขึ้น ความเสื่อมของอวัยวะ ร่างกายทำให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายขึ้น ไม่รวมการดูแลสุขภาพ

กระดูกคนปกติ กับกระดูกพรุนทำให้หลังค่อม

ถ้าถามถึงอาการ…

แทบจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ให้เราเห็น มันเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวสามารถเกิดได้กับทุกคน จะมารู้ตัวก็ตอนกระดูกหัก กระดูกทรุด  ปวดหลัง หลังค่อม งอ เตี้ยลง สำหรับใครที่รู้สึกว่าตัวเองเตี้ยลง อาจลองกลับมามองถึงปัญหานี้ดุนะคะ

การสร้างกระดูก ในวัยเด็กจะมีการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก มีการสะสมมวลกระดูกได้สูงสุดจนถึง 30 ปี หลังจากนั้นจะกลับกัน ถึงเวลาของความเสื่อมสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเกิดการสลายอย่างรวดเร็ว มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่าเลยทีเดียว ทำให้พบโรคนี้มากในผู้หญิง

ใครล่ะที่เสี่ยงบ้าง

  1. มีอายุมากกว่า 60-65 ปี และรุนแรงขึ้นมากเมื่ออายุเกิน 80 ปี
  2. สตรีวัยหมดประจำเดือน วัยทอง หรือคนที่ผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ที่ทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงและชายลดลงโดยผู้หญิงวัยทองมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชายวัยทอง 4 เท่า
  3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกหัก แตก
  4. รูปร่างผอมบาง น้ำหนักตัวน้อย
  5. ขาดสารอาหารแคลเซียมและวิตามินดี
  6. ไม่ออกไปรับแสงแดด ทำงานในห้องแอร์
  7. ไม่ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายนานๆ
  8. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กาแฟ ชา น้ำอัดลมเป็นประจำ
  9. ผู้ป่วยที่มีปัญหาที่ลำไส้ดูดซึมสารอาหารไม่ได้ และไต
  10. ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ ยารักษาเบาหวาน ต่อมไธรอยด์ เป็นต้น

การป้องกัน หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจาก 10 ข้อด้านบนโดยเฉพาะข้อ 4 – 10 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะแคลเซียม 800-1200 มิลลิกรัม ได้จากนม ไข่ ปลาเล็กปลาน้อย ถั่ว ผักใบเขียว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตากแดดบ้างเพื่อสังเคราะห์วิตามินดี และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพทั้งกระดูก และร่างกายทั่วไป เพราะอวัยวะหลายส่วนเกี่ยวข้องกับกระดูกด้วย

ในปัจจุบันมีการตรวจเช็คหลากหลาย

  1. DEXA Scan เป็นเครื่องตรวจหาความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้รังสี ประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง
  2. ความหนาแน่นของกระดูก BMD คนปกติจะอยู่ที่ > -1.0 คนที่เป็นโรคกระดูกพรุนค่าจะอยู่ที่ < -2.5
  3. ตรวจเลือดหา Bone marker และองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ซึ่งสะดวก และรวดเร็ว
    • P1NP ,NMID ตรวจดูอัตราการสร้างกระดูก
    • Beta CrossLaps ตรวจอัตราการสลายกระดูก มีมากในกระแสเลือดแสดงถึงการสลายกระดูกมาก
    • PTH เป็นตัวรักษาระดับแคลเซียมในเลือด สั่งให้ไตดูดกลับแคลเซียมสู่ร่างกายแทนการขับทิ้ง บอกถึงขณะนั้นร่างกายมีการสร้าง หรือ สลายกระดูก
    • วิตามิน D ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมจากอาหารนำมาใช้ และซ่อมแซมกระดูก
    • Calcitonin ผลิตจากต่อมไธรอยด์ส่งเสริมการสร้างกระดูก ยับยั้งไม่ให้แคลเซียมออกจากกระดูก ควบคุมแคลเซียมในกระแสเลือด
    • Estrogen ฮอร์โมนหลักเพศหญิง และ Testosterone ฮอร์โมนเพศชาย ช่วยให้ไตนำแคลเซียมกลับคืนสู่ร่างกาย หลังหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ฮอร์โมนเหล่านี้จะลดลงส่งผลให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง การซ่อมแซมกระดูกลดลงตามไปด้วย
    • Calcium อยู่ในกระดูกและฟัน 99% และในเลือด 1%
    • Phosphorus พบในกระดูก 85% อยู่ในเลือดและเนื้อเยื่อ 15%

กระดูกพรุนก็เสียชีวิตได้นะคะ

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมัน
ไขมัน ตอนท้าย ไขมันกับการดูแลสุขภาพ
ทิ้งช่วงกันไปนานเรากลับมาพูดคุยกันต่อกับเรื่องของ...
ตรวจยีน บอกวิธีลดน้ำหนัก
Weight Sensor ตรวจยีนบอกวิธี ลดน้ำหนัก
โรคอ้วน คือ โรคที่เรามีค่า...
เม็ดเลือดแดง
หนูแดง เม็ดเลือดแดงสุดหล่อ
มาทำความรู้จัก “หนูแดง”...

บทความยอดนิยม

CPK-สำคัญไฉน
CPK (Creatinine Phosphokinase) คืออะไร?
กลับมาพบกันอีกครั้ง ช่วงนี้อากาศเริ่มร้อนแล้วท่านผู้อ่านเป็นอย่างไรกันบ้างครับ...
ตรวจเลือด กินน้ำ ได้ไหม
เจาะเลือด ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ กินน้ำ ได้ไหม ?
ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ กินน้ำ...
ไวรัสตับอักเสบ บี แปลผลอย่างไร?
ไวรัสตับอักเสบ บี แปลผลอย่างไร?
ลูกค้าหลายคนตรวจ ไวรัสตับอักเสบ...
มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page