fbpx
เฮลท์แลบ คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
Follow us :
240130 ที่มาและความสำคัญของแบคทีเรียในร่างกาย

จุลินทรีย์ ในร่างกาย มาจากไหน? สำคัญอย่างไร?

จุลินทรีย์ คืออะไร? เกิดได้อย่างไร?

ในร่างกายมนุษย์มี เซลล์ จำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านล้านเซลล์ หากความเป็นจริงแล้วเซลล์มนุษย์เป็นเพียง 1 ใน 10 ส่วนของจำนวนเซลล์ทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย ทั้งนี้อีก 9 ส่วนที่เหลือคือจำนวนเซลล์ของ จุลินทรีย์ ที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ช่องหู ช่องคลอด ระบบทางเดินหายใจ และจะพบได้มากที่สุดในระบบทางเดินทางอาหาร จุลินทรีย์ เหล่านี้อาจเป็นได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส รา หรือจุลชีพชนิดอื่น ๆ ต่างชนิดต่างสายพันธุ์กัน ซึ่งล้วนมีผลต่อระบบการทำงานและของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ตามแหล่งที่อาศัยอยู่ บางชนิดมีส่วนช่วยป้องกัน จุลินทรีย์ ก่อโรคอื่น ๆ ที่เข้ามารุกราน ช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร ระบบการเผาผลาญ และระบบขับถ่าย บางชนิดช่วยสร้างสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในร่างกาย เสริมสร้าง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ แต่บางครั้งความผิดปกติของร่างกายก็อาจเกิดจากจุลินทรีย์เหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน เมื่อจุลินทรีย์บางชนิดมีจำนวนมากเกินไปหรือลดน้อยลงไปจากสภาวะปกติ

จุลินทรีย์ ทั้งหมดที่อยู่ในร่างกายรวมเรียกว่า ไมโครไบโอต้า (Microbiota)

เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าไมโครไบโอต้าในแต่ละอวัยวะของร่างกายของแต่ละบุคคลมีจุลินทรีย์ชนิดและจำนวนเท่าใด มีการลักษณะเจริญเติบโตอย่างไร ให้ประโยชน์หรือโทษต่อร่างกาย นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มคัดแยกและนำมาจุลินทรีย์มาเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาชนิดของจุลินทรีย์ แต่ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากจุลินทรีย์บางชนิดไม่สามารถเจริญเติบโตบนอาหารที่เพาะเลี้ยงได้ ทำให้จำนวนและชนิดของจุลินทรีย์ที่เคยค้นพบนั้นมีจำนวนน้อยกว่าความเป็นจริง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการศึกษาที่ใช้รหัสพันธุกรรมของจุลินทรีย์เหล่านี้ โดยทำการสกัดเอาดีเอ็นเอจากจุลินทรีย์ทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในอวัยวะต่างๆ และใช้เครื่องวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอ แปลผลออกมาในรูปของยีน ซึ่งยีนที่แปลผลออกมานั้นสามารถบอกถึงชนิดของจุลินทรีย์ จำนวน รวมทั้งหมดอาจบอกได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์และอวัยวะที่จุลินทรีย์เหล่านั้นอาศัยอยู่

การศึกษายีนของจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกายเรียกว่า ไมโครไบโอม (Microbiome) ไมโครไบโอมทั้งหมดในช่องท้องของ 1 คน อาจมีมากถึง 3.3 ล้านยีน เมื่อเปรียบเทียบกับยีนทั้งหมดของมนุษย์ที่มีอยู่ประมาณ 22,000 ยีน และมีความคล้ายคลึงกันแต่ตัวละบุคคลมากถึง 99.9% แล้ว ความแตกต่างของยีนจุลินทรีย์ของแต่ละบุคคลอาจมีมากถึง 80-90% การศึกษาไมโครไบโอม (ยีนทั้งหมดของจุลินทรีย์) ร่วมกับจีโนม (ยีนทั้งหมดของมนุษย์) อาจมีประโยชน์ต่อการดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งในแง่ของการทำนายโรคที่อาจเกิดขึ้น การเลือกวิธีหรือเลือกใช้ยาที่จำเพาะต่อตัวบุคคลเพื่อการรักษาในอนาคต

จุลินทรีย์ มีกี่ชนิด? แตกต่างกันอย่างไร? และ สำคัญอย่างไร?

จุลินทรีย์ที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล มีชนิดและจำนวนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละอวัยวะ สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุของการเจริญเติบโต ความหลากหลายนี้จะเพิ่มมากขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิดของอาหาร ระยะเวลาการเริ่มอาหารแข็งที่แตกต่างกัน การได้รับยาปฏิชีวนะ หรือการได้รับเชื้อโรคต่างๆ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น จากสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น ยังมีปัจจัยจำนวนมากที่ส่งผลต่อความแตกต่างของจุลินทรีย์ในแต่ละบุคคลนั้นเช่น พันธุกรรม เพศ อาหารการกิน อาการป่วย ภาวะเครียด การบาดเจ็บ อาชีพ การรักษาความสะอาด หรือตามสภาวะแวดล้อม เช่น สภาพภูมิอากาศ มลพิษต่างๆ เป็นต้น อายุที่มากขึ้นความหลากหลายของจุลินทรีย์ในร่างกายจะค่อนข้างคงที่ และจะลดลงเมื่อมีอายุมากกว่า 65 ปี

จุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายของชนิด หรือที่จำนวนที่แตกต่างกัน ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้แต่ละคนมีอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่ไม่เท่ากัน ความแตกต่างของจุลินทรีย์ที่ผิวหนังมีผลต่อโรคผิวหนังและระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง เช่น การเกิดสิว โรคสะเก็ดเงินชนิดเรื้อรัง โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเรื้อรัง แผลที่ผิวหนังเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานเป็นต้น

จุลินทรีย์ที่ระบบทางเดินทางอาหาร เช่น พบว่าบุคคลที่มีจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) มีโอกาสเป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร เนื้องอกและมะเร็งในกระเพาะอาหาร มากกว่าคนที่ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้ ไมโครไบโอต้าในลำไส้ใหญ่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับภาวะอ้วน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับเป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าจุลินทรีย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกายทั้งในด้านที่ให้ประโยชน์และโทษแก่ร่างกาย การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและลดความความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปราศจากสารพิษปนเปื้อน ลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น การรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติคส์และพรีไบโอติก ก็เป็นอีกหนึ่งในการปฏิบัติที่ส่งผลดีต่อร่างกายเราในอนาคต

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

  1. Cho, I and Blaser, MJ. 2012. The human microbiome: at the interface of health and disease. Nature Reviews Genetics, 13: 260-270.
  2. Gritz, EC and Bhandari, V. 2015. The Human Neonatal Gut Microbiome: A Brief Review. Front Pediatr. 3: 17.

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page