โอ้โหเงียบหายไปกันไปนานเลยนะคะ เป็นความผิดของครูเกรซเอง ที่มัวแต่ยุ่งงานเหนือ เสือใต้จนลืมเขียนบทความไปเลยทั้งที่ค้างเรื่องสำคัญซะด้วย สำคัญชนิดที่ว่า ถ้าขาดสิ่งนี้ไป เราจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ แน่นอน บทความครั้งที่ 5 นี้ เราจะพูดถึง ‘ลมหายใจ’ กันต่อ
หนที่แล้ว เราได้แบ่งประเภทของลมหายใจเป็น 3 อย่าง ดังนี้
- การหายใจด้วยหน้าท้อง
- การหายใจด้วยทรวงอก
- การหายใจในชีวิตประจำวัน
- จากนั้นเรามาดูรูปประกอบ ท่าการหายใจทั้ง 3 แบบ
การหายใจด้วยหน้าท้อง
การหายใจด้วยทรวงอก
การหายใจในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินชีวิต ระบบหายใจทำงานเอง อัตโนมัติ แต่มนุษย์เราสามารถที่จะสั่ง ควบคุม การหายใจได้บ้างเล็กน้อย หรือที่เรียกกันว่า ปราณายามะ
ปราณายามะ คือ
- การควบคุมลมหายใจให้ช้าลงๆ
- จนกระทั่งลมหายใจสม่ำเสมอ เบา สงบ
- จนกระทั่งสามารถสังเกตช่องว่างระหว่างลมหายใจได้อย่างชัดเจน
- ซึ่งส่งผลให้จิตสงบ อารมณ์มั่นคง
เพื่ออะไร?
- ปตัญชลีกล่าวว่าคุณประโยชน์ของปราณายามะสามารถทำลายอวิชชาที่เคลือบจิต นำเราออกจากความมืดมิด ไปสู่การหยั่งรู้ตนเอง
การฝึกลมหายใจ
ฝึกในท่านั่ง
- เริ่มจากการสังเกตุลมหายใจตนเองสักครู่
- หายใจหน้าท้อง เข้าท้องพอง ออกท้องแฟบ 10 รอบ
- หายใจทรวงอก เข้าแอ่นอก ยกไหล่ ออกทรวงอกปิด 10 รอบ
- หายใจ 1 ต่อ 2 (เช่น เข้า 5 ออก 10 วินาที) 10 รอบ
- หายใจสลับรูจมูก 10 รอบ
- หายใจอุชชายี เปล่งเสียงในลำคอ 10 รอบ
- ปิดท้าย นั่งสงบสักครู่
เรื่องของลมหายใจยังไม่หมดนะ ยิ่งพูดยิ่งละเอียด เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต คราวหน้า ครั้งที่ เรามาว่าเรื่องปราณายามะกันต่อ ก่อนจบบทความนี้ คุณได้ถามตัวเองวันนี้หรือยังว่า “วันนี้เราหายใจดีแล้วหรือยัง ?”