fbpx
เฮลท์แลบ คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
Follow us :
เกลือแร่รอง

เกลือแร่รอง มีกี่ชนิด? (ตอนจบ)

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้เรา จะมาปิดท้ายในเรื่องของ วิตามินและเกลือแร่ (VITAMINS & MINERALS) กันแล้วครับ กับส่วนของ เกลือแร่รอง (Trace minerals) อีก 5 ชนิดที่เรายังคงค้างจากครั้งที่แล้วกัน ซึ่งประกอบด้วย โครเมียม, โคบอลท์, ฟลูออไรด์, โมลิบดินัม และวานาเดียม

เกลือแร่รอง เหล่านี้ มีประโยชน์อย่างไร พบได้จากที่ไหน เราไปเจาะลึกกันในส่วนของรายละเอียดกันเลยดีกว่าครับ

โครเมียม (Chromium) เกลือแร่ตัวนี้จะทำงานร่วมกับอินซูลินในกระบวนการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนต่างๆที่ร่างกายต้องการ มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีให้แก่ร่างกาย ทั้งนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงอย่างเฉียบพลันอีกด้วยครับ ซึ่งการขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวานได้ แหล่งที่พบ ได้แก่ ไก่ หอยกาบ ตับลูกวัว จมูกข้าวสาลี น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น

โคบอลต์ (Cobalt) เป็นเกลือแร่ที่เป็นส่วนหนึ่งของ วิตามินบี12 ตามปกติแล้วร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ นม ตับ ไต หอยนางรม หอยกาบ ถ้าได้รับโคบอลต์ที่มากเกินไป อาจส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ใหญ่ผิดปกติได้ หากร่างกายขาดโคบอลต์อาจมีความเสี่ยงของการเป็นโรคโลหิตจางตามมา

ฟลูออรีน (Fluorine) เป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย และมีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเคลือบฟันครับ แหล่งที่พบ ได้แก่ อาหารทะเล ชา น้ำดื่มที่เติมฟลูออไรด์ น้ำดื่มจากบ่อน้ำธรรมชาติ น้ำบาดาล น้ำในลำธาร และยังรวมไปถึง กาแฟ เนย ถั่ว เมล็ดทานตะวัน กระจับ ข้าวต่างๆ ไข่แดง น้ำมันตับปลา หัวบีท หัวแครอท หัวไชเท้า ข้าวโพด กระเทียม ผักใบเขียว กะหล่ำปลี ผักโขม มะเขือ แอปเปิ้ล กล้วย องุ่น เชอรี่ ลูกแพร์ เป็นต้น การได้รับฟลูออรีนในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ฟันเปลี่ยนสี และมีอาการฟันตกกระ หากขาดฟลูออรีน อาจเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ และอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

โมลิบดีนัม (Molybdenum) มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน อีกทั้งเป็นส่วนสำคัญของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการนำ ธาตุเหล็กมาใช้ แหล่งที่พบ ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม ธัญพืชไม่ขัดสี พืชผักตระกูลถั่ว นม เครื่องในสัตว์ เป็นต้น โรคจากการขาดโมลิบดีนัม อาจทำให้สมองถูกทำลายได้ง่าย จิตใจสับสนมึนงง

วาเนเดียม (Vanadium)  ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ขัดขวางการก่อตัวของคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทั้งนี้นักเพาะกายเชื่อว่ามันจะช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อในร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและช่วยให้ได้รูปทรงที่สวยงามได้ แต่อย่างไรแล้วขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับการเพาะกายคือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานก่อนออกกำลังกายประมาณครึ่งชั่วโมง แหล่งที่พบ ได้แก่ ปลา มะกอก เมล็ดธัญพืชต่างๆที่ไม่ขัดสี วาเนเดียมยังทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนอินซูลินอีกด้วย แพทย์ทางเลือกได้นำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน แต่หากเป็นโรคเบาหวานอย่าใช้วาเนเดียมรักษาด้วยตัวเองนะครับ เพราะวาเนเดียมอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณลดลงเร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมา ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับเกร็ดความรู้ในเรื่อง วิตามินและเกลือแร่ (VITAMINS & MINERALS) ซึ่งมีเนื้อหาต่อเนื่องถึง 6 ฉบับกันเลยทีเดียว ผมหวังว่าผู้อ่านคงได้รับความรู้ในเรื่องของวิตามินและเกลือแร่เป็นอย่างมาก สามารถนำเกร็ดความรู้เหล่านี้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่การนำไปปรับใช้เพื่อดูแลสุขภาพในทางที่ถูกต้องนะครับ ส่วนในฉบับต่อไปนั้น ทางเฮลท์แลบจะนำเรื่องอะไรมาฝากท่านผู้อ่านกัน โปรดติดตามครับ ^^ อยากอ่านเกลือแร่รองตอนแรก คลิกเลยจ้า

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page