กระแสสุขภาพที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือเรื่องคุณหมอท่านนึงที่ป่วยเป็น มะเร็ง ปอดระยะสุดท้าย หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าคุณหมอดูแลสุขภาพขนาดนั้น ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการพักผ่อนพร้อม mindset ที่ดีในการใช้ชีวิต ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ที่คิดว่าจะทำให้ป่วยได้ (หลัง ๆ เริ่มมีการพูดถึงประเด็ก PM2.5 ขึ้นมาบ้างแล้ว) แต่ทำไมถึงยังป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายได้โดยที่ไม่รู้ตัว
วันนี้แอดมินจะมาเขียนถึงเรื่อง สารบ่งชี้ มะเร็ง ที่สามารถตรวจได้ในเลือด และช่วยให้เรารู้ก่อนว่าร่างกายกำลังถูกมะเร็งเรียกหาอยู่หรือเปล่า โดยอ้างอิงข้อมูลจาก ผศ.พญ.ศันสนีย์ เสนะวงษ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้พูดถึง “การตรวจเลือดหามะเร็ง เขาตรวจหาอะไรกัน “เอาไว้นะคะ
1. AFP
ตรวจพบได้ในคนปกติ เป็น Tumor marker ที่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ในการตรวจหามะเร็งตับ เช่น ตับอักเสบเรื้อรัง เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ หรือเป็นโรคตับแข็ง ซึ่งควรตรวจซ้ำ 3-6 เดือน ร่วมกับการอุลตราซาวน์ตับ
AFP มักมีค่าสูงมากกว่าปกติในผู้ป่วยมะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ และหรืออัณฑะ อาจะพบสูงในมะเร็งปอด มะเร็งทางเดินอาหาร
2. CEA
สามารถตรวจพบได้ในคนปกติ พบสูงเล็กน้อยในผู้ที่สูบบุหรี่ หญิงตั้งครรภ์ หรือมีการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร
CEA มักพบสูงมากในผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ แต่ที่พบสูงมากและพบบ่อยกว่าชนิดอื่น ๆ คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่
3. PSA
เป็น Tumor marker ที่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะในชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ปัจจุบันมีการตรวจเพิ่มเติมเพิ่มความจำเพาะต่อมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการตรวจ Free PSA : Total PSA ratio
PSA สูงกว่าปกติพบในผุ้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือต่อมลูกหมากโต
4. CA 125
มักพบสูงในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิด non-mucinous type มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับ
นอกจากนี้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยที่มีการอักเสบช่องท้อง ตับอ่อนตับแข็งก็พบสูงได้
5. CA 19-9
สามารถตรวจพบได้ทั้งในเซลล์ปกติและพบสูงในเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม หากมีการอักเสบก็สามารถพบค่าสูงได้ เช่น ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ
CA 19-9 จัดเป็น Tumor marker ที่ทดีที่สุดในการช่วยวินิจฉัยและติดตามการรักษา มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งท่อน้ำดี
6. CA 153
พบสูงได้ในมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด แต่มักใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจาย และกลับมาเป็นซ้ำ
หากเป็นการตรวจมะเร็งเต้านมระยะแรก แนะนำให้ใช้การตรวจ Mammogram จะดีกว่า เนื่องจาก CA 153 มักพบในมะเร็งเต้านมที่มีการกระจายแล้ว
Beta hCG ฮอร์โมนที่นิยมใช้ในการตรวจเช็กการตั้งครรภ์ จะสูงมากในผู้ป่วยครรภ์ไข่ปลาอุก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ หรืออัณฑะ
7. NSE
มักพบสูงในมะเร็งที่มีต้นกำเนิดในกลุ่มระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เช่น มะเร็งปอดชนิด small cell lung cancer , Nueroblastoma
NSE จัดเป็น Tumor marker ที่ดีที่สุดในการช่วยวินิจฉัยและติดตามการรักษามะเร็งปอดชนิด small cell lung cancer ซึ่งลุกลาม และดำเนินโรครวดเร็ว ทำให้เสียชีวิตสูง
นอกจากนี้ยังมีสารก่อมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่อยากให้ได้รู้จักกันค่ะ เช่น
• Ferritin ตรวจพบสูงในสะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งตับ หากพบค่าสูงคู่กับ CEA อาจบ่งชี้มะเร็งเต้านม
• HGH (Human Growth hormone) ค่าสูงสัมพันธ์กับมะเร็งปอด มักตรวจร่วมกับ NSE
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งมีประโยชน์เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ติดตามผลได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าสารบ่งชี้มะเร็งหลายชนิดตรวจพบได้ในคนปกติ และอาจจจะพบสูงหรือปกติในผู้ที่เป็นมะเร็งได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นควรเลือกตรวจให้เหมาะสมและแปลผลด้วยผู้เชี่ยวชาญ หากตรวจพบความผิดปกติ ควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางอื่นในการร่วมวินิจฉัยนะคะ
ที่มา https://www.si.mahidol.ac.th/…/article_files/618_1.pdf