fbpx
วิตามินและเกลือแร่

วิตามินและเกลือแร่ สารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้

ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนเรานั้นเปลี่ยนไปมากในเรื่องของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำมาหาเลี้ยงชีพ ความแตกต่างในการใช้ชีวิตประจำวัน และความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็นำพามาซึ่งปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ทานอาหารไม่ตรงเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือการทานอาหารเสริมเพื่อชดเชยบางอย่างที่ขาดหายไป ผมเคยเขียนเรื่องของอาหารเสริมไว้เมื่อนานมาแล้ว ว่าถ้าไม่จำเป็นผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้สนับสนุนให้คนไข้ผมทานอาหารเสริม เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คุณว่าจริงไหมครับ แต่ถ้าเมื่อถึงความจำเป็นที่ต้องทานเราก็ต้องรู้จักการทานให้ถูกวิธีและได้ประโยชน์ วันนี้ผมไม่ได้มาเล่าเรื่องอาหารเสริมครับ ผมจะเล่าเรื่อง วิตามินและเกลือแร่ สารอาหารที่ร่างกายเราขาดไม่ได้

วิตามินและเกลือแร่

เรามาทำความรู้จักกับวิตามินกันก่อน วิตามินคือสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราต้องการ และจำเป็นต้องใช้เพียงแต่ว่าเป็นปริมาณที่น้อย (Micronutrients)  คือน้อยกว่าสารอาหารในกลุ่มอื่นๆ เช่น ไขมัน โปรตีน หรือ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งเราจะได้รับวิตามินจากอาหารที่เราทาน รวมไปถึงการที่ร่างกายเราสังเคราะห์ขึ้นมาเอง ประโยชน์ของวิตามินหลักๆ ก็คือเป็นองค์ประกอบในการสร้าง หรือนำพาสารอาหารอื่นๆ ไปใช้ เช่น วิตามิน D เป็นตัวหนึ่งที่นำแคลเซียมไปสร้างเป็นกระดูก หรือ วิตามิน K ที่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนแข็งตัวของเลือดเมื่อร่างกายเราเกิดบางแผล เพราะฉะนั้นเมื่อร่างกายเราขาดวิตามินก็จะทำให้ร่างกายของเราเกิดความผิดปกติได้ครับ มาลงรายละเอียดกันอีกนิด วิตามินนั้นมีทั้งหมด 13 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท ครับ

  1. วิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat Soluble Vitamins) ได้แก่ วิตามินชนิด A, ชนิด D, ชนิด E และสุดท้าย วิตามินชนิด K ซึ่งวิตามินที่ละลายในไขมันนั้นสามารถสะสมในร่างกายได้ครับ
  2. วิตามินที่ละลายในน้ำ (Water Soluble Vitamins) ได้แก่ วิตามินชนิด B1, ชนิด B2, ชนิด B3, ชนิด B5, ชนิด B6, ชนิด B7, ชนิด B8, ชนิด B9, ชนิด B11, ชนิด B12, ชนิด B15 และ วิตามินชนิด C วิตามินประเภทนี้จะถูกขับออกจากร่างกายได้ไว  และปัญหาที่ทำให้เราขาดได้ง่ายคือไม่สะสมในร่างกายของเราครับ
วิตามินและเกลือแร่

มาดูในส่วนของเกลือแร่กันต่อครับ เกลือแร่ หรือสารประกอบ อนินทรีย์ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหารส่วนที่เหลือ เกลือแร่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่างครับ เช่น ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย  เป็นองค์ประกอบของเซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท  เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์  ฮอร์โมน  และวิตามิน  นอกจากนี้เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะของร่างกายเรา แต่เช่นเดียวกันกับวิตามิน เกลือแร่เป็นสารอาหารที่ร่างกายเราต้องการในปริมาณที่เล็กน้อย (Micronutrients) แต่ถ้าร่างกายเราได้รับเกลือแร่ไม่เพียงพอ  ร่างกายเราก็จะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และจะเกิดความผิดปกติได้ โดยแหล่งเกลือแร่ ที่เราได้ก็คือ อาหารทั่วไป ตัวอย่างเกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน หรือ เหล็ก เป็นต้น ทั้งนี้เกลือแร่จะถูกแบ่งได้เป็น เกลือแร่หลัก และเกลือแร่รอง ทั้ง 2 ประเภทต่างกันอย่างไร

  • เกลือแร่หลัก (Macro minerals)  คือ  เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก  หรือความต้องการในหนึ่งวันมากกว่า  100  mg  ขึ้นไป ได้แก่  แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, แมกนีเซียม, โซเดียม, กำมะถัน และคลอไรด์  ในร่างกายเราจะพบแคลเซียมมากที่สุดเนื่องจากเป็นส่วนประกอบของกระดูก  รองลงมาก็ได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม ตามลำดับ
  •  เกลือแร่รอง  (Trace minerals)  คือ  เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย  หรือความต้องในหนึ่งวันน้อยกว่า  100  mg  ได้แก่ เหล็ก, สังกะสี, ซีลีเนียม, แมงกานิส, ทองแดง, ไอโอดีน, โครเมียม, โคบอลท์, ฟลูออไรด์, โมลิบดินัม และวานาเดียม แต่ถึงแม้ว่าร่างกายเราจะต้องการเกลือแร่ประเภทนี้ในปริมาณน้อย  ก็ใช่ว่าจะไม่สำคัญจนสามารถมองข้ามมันไป

สำหรับฉบับนี้ผมขอพูดถึงเรื่อง วิตามินและเกลือแร่ ไว้เพียงเท่านี้ก่อน ส่วนรายละเอียดของประโยชน์ แหล่งที่มาหรือประเภทของอาหารที่เราจะพบ วิตามินและเกลือแร่ เหล่านี้ได้มีอะไรบ้าง มาติดตามกันในฉบับหน้าครับ สวัสดีครับ ^^

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา
เลือกช่องทางนัดหมาย
MAHACHAI TLC MAHACHAI BRANCH
HEALTH LAB HUA HIN BRANCH
NUTRAT HEALTH LAB (HUA NA – SOI 112)
Appointment
HEALTH LAB ON NUT BRANCH

You cannot copy content of this page