ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ล้วนมีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยให้การตั้งครรภ์นั้นปลอดภัย และลูกออกมาสมบูรณ์
คุณเชื่อมั้ย ? มี ฮอร์โมน ตัวนึงที่ควบคุมการทำงานนั้นอยู่ นั่นก็คือ ไทรอยด์ ฮอร์โมน ไงล่ะ ทำไมน่ะหรอ ก็เพราะ T3 และ T4 ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยจะทำงานพร้อมกับ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของระบบประสาทและสมองของทารก
ในขณะที่คุณตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา !!!
และด้วยการเผาผลาญกร่างกายที่เพิ่มขึ้น ร่างกายจึงมีความต้องการ ไทรอยด์ ฮอร์โมน มากพอที่จะรองรับทารกในครรภ์ เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ซึ่งมีผลให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เปลี่ยนแปลงไปมาก ที่สำคัญได้แก่ การเพิ่มขึ้นของ Thyroid Binding Globulin (TBG) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่สูงขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ตามมาอีกมาก
โดยการเปลี่ยนแปลงของต่อมไทรอยด์ในสตรีตั้งครรภ์อาจจะทำให้
- ต่อมไทรอยด์โตขึ้นเล็กน้อย
- ระดับ TSH ต่ำกว่าปกติ
- ระดับ TBG เพิ่มมากขึ้น ทำให้ T3,T4 เพิ่มขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 4-8 สัปดาห์ แต่ระดับ FT3 จะอยู่ในระดับปกติ หลังจากสัปดาห์ 12-14 สัปดาห์ ระดับ TBG ก็จะเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของไทรอยด์ฮอร์โมนจึงทำให้พบ โรคไทรอยด์ ในสตรีตั้งครรภ์ได้ค่อนข้างบ่อย
ไทรอยด์ฮอร์โมน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยในการพัฒนาสมอง และระบบประสาท ของทารกในครรภ์โดยเฉพาะในช่วง สามเดือนแรก ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการใจสั่น น้ำหนักลด หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ควรรับการตรวจดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ หรือ Thyroid Function Test และควรพบแพทย์
โรคไทรอยด์ ในสตรีตั้งครรภ์ทั้งไฮเปอร์ไทรอยด์ และไฮโปไทรอยด์ที่ไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่
- การคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้อาจมีโรคบางชนิดติดตามมา
- ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง
- นำไปสู่การแท้งบุตรได้
- เด็กจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
- เด็กมีพัฒนาการทางสมอง (IQ) ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือปัญญาอ่อนได้
ไทรอยด์ ในสตรี ตั้งครรภ์ โรคที่คุณไม่ควรมองข้าม!
#คลินิก#แลบ#ตรวจ#เลือด#ปัสสาวะ#ร่างกาย#สุขภาพ#ประจำปี#ใบสั่ง#แพทย์#ก่อนเข้างาน#สมุทรสาคร#มหาชัย#ทีแอลซี#เฮลท์แลบ#ประจวบคีรีขันธ์#หัวหิน#หัวนา #ไทรอยด์ #ตั้งครรภ์