ไมโครไบโอม (Microbiome) คือ จุลินทรีย์ธรรมชาติที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ อยู่กับเรามาตั้งแต่เราเกิด แล้วค่อย ๆ ลดลงและเสียสมดุลไปตามกาลเวลาและพฤติกรรมการใช้ชีวิต
เรามีเรื่องน่ารู้ของจุลินทรีย์หรือ ไมโครไบโอม มาบอก
- จุลินทรีย์ที่อาศัยในร่างกายมนุษย์ มีมากกว่า 10000 สายพันธุ์
- จุลินทรีย์มากกว่า 95% อาศัยอยู่ในลำไส้
- จุลินทรีย์มีมากกว่ายีนมนุษย์ถึง 10 เท่า
- จุลินทรีย์ของแต่ละคนแตกต่างกัน และแตกต่างกันไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน แสดงความสัมพันธ์ของ ไมโครไบโอม ในลำไส้ที่เสียสมดุลกับการเกิดโรค ทั้งการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ
- จุลินทรีย์ในลำไส้กับโรคที่ไม่ปรากฏเด่นชัด เช่น การอาการผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน ท้องผูก ท้องเสีย น้ำหนักเกิน เบาหวาน ความดัน โรค NCDs
- จุลินทรีย์ในลำไส้ กับมะเร็ง เกี่ยวโยงกับมะเร็งไทรอยด์ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้
- จุลินทรีย์ในลำไส้กับโรคติดเชื้อ เนื่องจาก 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันเป็นไมโครไบโอมในลำไส้
- จุลินทรีย์ในลำไส้กับสุขภาพจิต ลำไส้ส่งผลต่ออารมณ์ผ่านทางระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงโรคทางสมอง เช่น ออทิสติก ความจำเสื่อม นอนไม่หลับ ซึมเศร้า
ว่ากันว่า “สุขภาพดี เริ่มต้นที่จุลินทรีย์สมดุล” เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้สัมพันธ์กับการเผาผลาญและยีน
จุลินทรีย์ในลำไส้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- จุลินทรีย์ตัวหลัก Core bacteria : ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นกลาง คือ หากจุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นชนิดดี จุลินทรีย์เหล่านี้จะก่อประโยชน์กับร่างกาย หากจุลินทรีย์ไม่ดีมากเกินไป จุลินทรีย์หลักเหล่านี้จะก่อโทษ
- จุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ดี หรือ Harmful bacteria : ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย
- จุลินทรีย์ชนิดดี หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Probiotics : ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง
จุลินทรีย์ในลำไส้ประกอบด้วยจุลินทรีย์หลัก มากถึง 50-70% ของจุลินทรีย์ทั้งหมด จุลินทรีย์หลักส่งผลได้ทั้งผลดีและร้ายกับสุขภาพ ช่วงสำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานจุลินทรีย์ให้สมดุลคือช่วงอายุ 0-3 ปี ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มนมแม่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดทางสุขภาพ หาความสมดุลของจุลินทรีย์ระหว่างจุลินทรีย์หลัก จุลินทรีย์ไม่ดี และจุลินทรีย์ดี (โพรไบโอติกส์) เพื่อประเมินสุขภาพของคุณ โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้
- สมดุล : จุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณ อยู่ในเกณฑ์สมดุล คุณควรรักษาพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตในแบบที่ดำเนินอยู่ต่อไป
- เสียสมดุลเล็กน้อย : จุลินทรีย์เสียสมดุลเล็กน้อย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยง แต่อาจจะยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพทันที ควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตบางอย่าง
- เสียสมดุลปานกลาง : จุลินทรีย์เสียสมดุลปานกลาง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นแล้ว ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต
- เสียสมดุลมาก : จุลินทรีย์เสียสมดุลมาก ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่าปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว คุณควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง
หากตรวจเช็กจุลินทรีย์ในลำไส้แล้ว ผลการตรวจวัดจะบอกถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหรือไม่สมดุล มีรายละเอียดดังนี้
ความเสี่ยงต่ำ แสดงว่า ความชุกชุมสัมพัทธ์ของจุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณ อยู่ในเกณฑ์เดียวกันกับค่าเฉลี่ยของประชากรที่แข็งแรงโดยทั่วไป ความเสี่ยงในการเกิดอาการเจ็บป่วยค่อนข้างต่ำ คุณควรรักษาพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตในแบบที่ดำเนินอยู่
ความเสี่ยงปานกลาง แสดงว่า ความชุกชุมสัมพัทธ์ของจุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประชากร มีจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีน้อยกว่า และจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีมากกว่าปกติ ความเสี่ยงในการเกิดอาการเจ็บป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรปกติ คุณควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพจุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณเป็นระยะ
ความเสี่ยงสูง แสดงว่า ความชุกชุมสัมพัทธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้คุณ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประชากรมีจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากกว่าประชากรโดยทั่วไป
เมื่อเราทราบความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ microbiome ของเราแล้ว เราสามารถนำมาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมถึงอาหารที่ควรรับประทาน การพักผ่อน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงต่อไปนะคะ