fbpx
ยุงลาย

รู้จักกับโรค ไข้เลือดออก (ครบจบที่นี้)

เนื่องจากปีนี้ ไข้เลือดออก ได้ระบาดอย่างหนัก คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 120,000-150,000 ราย และผู้เสียกว่า 100 รายทำให้ต้องสูญเสียค่ารักษาสูงถึงประมาณสองพันล้านบาท

โดยผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียนและวัยแรงงาน เราจึงอยากหยิบยกเอาประเด็นนี้มาให้ทุกท่านได้อ่าน และทำความเข้าใจเกี่ยวไข้เลือดออกกันอีกครั้ง ซึ่งคงได้ยินหรือได้ฟังกันมาบ้างแล้วนะคะ

รู้จักกับโรค ไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกี่จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วัน

รู้จักกับโรค ไข้เลือดออก

ในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่คนอยู่อาศัยในบ้าน ไม่ได้ออกไปข้างนอก ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือน้ำสกปรก จำไว้เลยนะคะทุกคน

รู้จักกับโรค ไข้เลือดออก

ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90

ไข้เลือดออก มีอาการอย่างไร

อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่ได้คิดถึงโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ

  • ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ2-7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • บางรายอาจจะมีจุดเลือดสีแดงออกตามลำตัว แขนขา อาจจะใรเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามรายฟัน และถ่านอุจาระดำเนื่องจากเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจจะช็อค
รู้จักกับโรค ไข้เลือดออก
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้เมื่อไข้ลงผู้ป่วยกลับแย่ลง ซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออก หมดสติ และอาจจะเสียชีวิต

ความรุนแรงของโรค

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแดงกี่ จะต้องมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา (มีความเข้มข้นของเลือดหรือ Hct เพิ่มขึ้น 20% หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้อง) และมีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ

  • Grade 1 ผู้ป่วยไม่ช็อค เป็นไข้เลือดออกโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ touniquet test ให้ผลบวก
  • Grade 2 ผู้ป่วยไม่ช็อค มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • Grade 3 ผู้ป่วย่ช็อค มีความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเร็ว pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
  • Grade 4 ผู้ป่วย่ช็อครุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้

การวินิจฉัยโรค

อาศัยลักษณะทางคลินิกดังกล่าวมาแล้วประกอบกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • การตรวจ CBC ถ้าพบว่ามีการเพิ่มของค่า hematocrit มากกว่าร้อยละ 20 โดยเปรียบเทียบ กับค่า hematocrit ในวันที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือในระยะฟื้นจากโรคก็ถือได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะ plasma leakage พบผู้ป่วยจ านวนน้อยอาจมีอาการซีดและค่า hematocrit ลดลงจากการมี เลือดออกมากหรือจากการมีภาวะ hemolysis จากโรคเลือด
  • การตรวจนับเม็ดเลือดนับว่ามีความสำคัญมากในระยะแรกที่ผู้ป่วยมีไข้สูงจำนวนเม็ดเลือดขาวอาจปกติหรือสูงเล็กน้อย อาจพบPMN สูงได้ในตอนท้ายของระยะไข้สูงจำนวนเม็ดเลือดขาวมักลดลง มี lymphocyte และ atypical lymphocyte เพิ่มขึ้น ต่อมาจะพบว่าจำนวนเกร็ดเลือดลดลง ส่วนใหญ่มักต่่ำกว่า 100,000/ลบ.มม. ตามมาด้วยค่า hematocrit ที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่มีการรั่วของ plasma การตรวจ
  • การทดสอบ touniguet test โดยการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต อ่านผลว่าบวกในกรณีที่มีจุด petechiae มากกว่า 10-20 จุด/1ตารางนิ้ว41 พบว่าเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก การทดสอบ touniquet test พบว่าให้ผลไม่แตกต่างกันในเด็กและ ผู้ใหญ่ ดังนั้นควรทำในผู้ป่วยทุกรายยกเว้นในรายที่มีจุดเลือดออกแล้วไม่จำเป็นต้องทำและทำติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะได้ผลบวกชัดเจนในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่
  • การตรวจ ALT/AST ควรทำในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่สงสัยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ทุกรายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากหรือผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะตับอักเสบร่วมด้วย เพราะจากการศึกษาพบว่ามักตรวจพบค่า ALT/AST ค่อนข้างสูงในผู้ใหญ่และมีผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตจากภาวะตับวาย
  • ภาพรังสีปอดอาจพบน้้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ค่าโซเดียมในเลือดต่่ำ และระดับ aspartate transaminase (AST) และ alanine transaminase (ALT) สูงกว่าปกติการแข็งตัวของเลือดมีความผิดปกติ
  • วิธีที่นิยมใช้ได้แก่การตรวจโดยวิธีenzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) การตรวจโดยวิธีELISA เป็นวิธีที่นิยมใช้มากขึ้นเนื่องจากทำได้ง่ายการตรวจตัวอย่างเพียงครั้งเดียวสามารถวินิจฉัยโรคได้ส่วนใหญ่นิยมตรวจหาแอนติบอดี และอีกวิธีคือ hemagglutination inhibition (HI)

การรักษา

  • ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1 การให้สารน้้ำและการรักษาตามอาการเป็นหัวใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปริมาณสารน้้ำที่ให้ผู้ป่วยในระยะ 24-48 ชั่วโมง ซึ่งอาจมีการรั่วของ plasma หลักการให้สารน้้ำที่ส าคัญคือให้ปริมาณน้อยที่สุดซึ่งเพียงพอสำหรับการรักษาระดับการไหลเวียนเลือดของร่างกาย
  • พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ด้วยปัญหาเรื่องไข้ซึ่งในกรณีที่แพทย์ไม่ได้คิดถึงโรค นี้โดยเฉพาะในระยะแรกๆของโรคอาจทำให้ให้การรักษาไม่เหมาะสมร่วมทั้งการนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 5-7วัน ดังนั้นการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส  เดงกี่โดยทั่วไปมักให้การรักษาตามอาการ เช่น การลดไข้ การให้สารน้้ำทางเส้นเลือดในกรณีที่รับประทานไม่ได้
  • หลีกเลี่ยงเรื่องการกระแทกงดการฉีดยาเข้ากล้าม ขณะเดียวกันการทำการผ่าตัดไม่ควรทำโดยไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน การให้ blood transfusion มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียเลือดมากซึ่งพบได้ไม่บ่อย การให้เกร็ดเลือดไม่ควรให้โดยไม่จำเป็น

เมื่อไหร่จะให้กลับบ้าน

  • ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร
  • ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
  • ความเข้มของเลือดคงที่
  • 3 วันหลังจากรักษาภาวะช็อค
  • เกร็ดเลือดมากกว่า 50,000
  • ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องจากเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้

วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย

  • กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง
  • หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
  • ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ
รู้จักกับโรค ไข้เลือดออก

ข้อสำคัญของไข้เลือดออก

  • ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยที่ไม่มีอาการของไข้หวัดร่วมกับ มีจุดเลือดออกหรือทำ touniquet test
  • หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก
  • ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกล็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิด
  • ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
  • หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์
  • ภาวะ DSS เกิดจากการรั่งของพลาสม่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ ต้องรีบให้น้ำเกลืออย่างรวดเร็ว และอาจจะจำเป็นต้องให้ Dextran 40
  • การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก
  • การได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด
  • การเกิดภาวะเป็นกรดจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา
รู้จักกับโรค ไข้เลือดออก

สนใจการตรวจสุขภาพสอบถามได้ที่ healthlabclinic หรือ มหาชัยทีแแอลซี

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายได้ที่

มหาชัย ทีแอลซี สาขา มหาชัย
เฮลท์แลป สาขา อ่อนนุช
เฮลท์แลป สาขา หัวหิน
นุชรัตน์เฮลท์แลป สาขา หัวนา

You cannot copy content of this page