จากที่ผมได้พูดถึงการตรวจ หมู่เลือด กันไปแล้ว วันนี้ผมก็จะบอกเล่ากันต่อ ถึงการ บริจาคเลือด ครับ ก่อนอื่นๆเรามารู้จักเลือดของเรากันก่อนครับ
เลือด ทุกคนคงนึกออกว่าหน้าตาเป็นอย่างไร แต่รู้หรือไม่ครับ ว่าเม็ดเลือดแดงนั้นนอกจากเป็นตัวพา ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ แล้ว ยังมีเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่เป็นทหารในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรค มีเกร็ดเลือดเป็นตัวช่วยในการทำให้เลือดหยุดไหล และมีน้ำเลือดเป็นตัวพาเจ้าเซลล์ทั้งหมด รวมถึงสารอาหารไหลไปตามกระแสเลือด ช่วยรักษาความเป็น กรด – เบส สมดุลของ น้ำ และรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งปกติแล้ว
เม็ดเลือดแดง จะมีประมาณ 40 – 45% ของเลือดทั้งหมด มีอายุประมาณ 90 – 120 วัน
เม็ดเลือดขาว จะมีประมาณ 1% ของเลือดทั้งหมด มีอายุ 7 – 14 วัน
เกร็ดเลือด จะมีอยู่ประมาณ 5% ของเลือดทั้งหมด มีอายุ 3 – 4 วัน สุดท้ายน้ำเลือด จะมีปริมาณ 55% ของเลือดทั้งหมด
เมื่อเลือดหมดอายุก็จะถูกนำไปทำลาย เห็นไม่ครับว่าเลือดสำคัญแค่ไหน และก็มีวันหมดอายุด้วย ดังนั้นเมื่อร่างกายมีการเสียเลือดปริมาณมากในคราวเดียวก็ต้องหาเลือดใหม่เข้าไปทดแทนครับเพราะทำให้ระบบของร่างกายยังคงทำงานต่อไปได้ เรามาดูกันว่าเพราะอะไรบ้างที่คนเราต้องการเลือดเข้าไปทดแทน
ผู้รับบริจาคเลือด ที่เห็นได้ชัดเลยก็ ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุครับ กลุ่มอื่นๆอย่าง หญิงผ่าคลอด ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย (ผู้เป็นโรคโลหิตจาง) ผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาหลาย ๆ อย่างในปัจจุบันนี้ เช่น การผ่าตัดใหญ่ การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ การปลูกถ่ายไขกระะดูก เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีผู้รับบริจาคเลือดอยู่อีกมากเลยครับ เป็นเหตุผลว่าทำไมเลือดที่บริจาคนั้น ถึงไม่เคยเพียงพอเลย และเป็นส่วนนี้ที่ผมอยากบอกเล่าเรื่องนี้ครับ เรารู้แล้วว่าทำไมต้องบริจาคเลือด มาดูข้อดีกันครับ
ผู้บริจาคเลือด มีข้อดีอย่างแรกเลยครับ ได้เปลี่ยนถ่ายเลือดทุก 3 เดือนครับ อย่างที่บอกไปอย่างไรทุก 90 – 120 วัน เมื่อเลือดหมดอายุก็ต้องถูกกำจัดอยู่แล้วสู้เอาไปบริจาคไม่ดีกว่าหรือครับ ได้ช่วยผู้ป่วยด้วย ถัดมากระตุ้นให้ไขกระดูกได้มีการทำงานอย่างสม่ำเสมอทำให้ไขกระดูกนั้นแข็งแรง เพราะไขกระดูกเป็นตัวต้นในการสร้างเม็ดเลือดนั้นเอง ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดใหม่ รวมถึงทั้งเม็ดเลือดขาว กับ เกล็ดเลือด ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ดีขึ้นเพราะถูกกระตุ้นให้สร้างใหม่อยู่ตลอด ที่แน่ๆ ได้บุญครับ จริงแล้วยังมีข้อดีอีกมากครับสำหรับการบริจาคเลือด แต่เท่านี้ดีกว่าเดียวยาวไป สำหรับผู้ที่กลัวอ้วนไม่ต้องห่วงครับ ไม่มีผลกับการเพิ่มน้ำหนักแน่นอนครับ
ทีนี้มาดูกันว่าก่อนบริจาคเลือดควรรู้อะไรบ้าง ในส่วนนี้เป็นข้อมูลตรงจากทาง สภากาชาดไทยครับ
คุณสมบัติผู้บริจาคเลือด
1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
6. ไม่ควรไปบริจาคเลือดเพราะต้องการเช็คสุขภาพจากภาวะการติดเชื้อครับ
การเตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด
1. นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
2. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคเลือด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้น้ำเหลืองเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้ครับ
3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค เรื่องนี้จำเป็นครับ เพราะแอลกอฮอล์นั้นทำให้เลือดไม่แข็งตัว ดังนั้นเพราะเราบริจาคเลือดอาจจะทำให้เลือดไหลหยุดช้า หรือไม่หยุดได้ครับ
4. งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคเลือด 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกเลือดได้ดี
ขณะบริจาคเลือด
– สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
– ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
– ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคเลือด
– ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เลือดไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
– หลังบริจาคเลือดเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
หลังบริจาคเลือด
– ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
– หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาค
– ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
– ถ้ามีเลือดซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเลือดเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
– ผู้บริจาคเลือดที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
– รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
นี้ก็เป็นทั้งหมดของการบริจาคเลือดที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟังครับ เชื่อเถอะครับ มีผู้รอรับเลือดจากเราอีกมากครับ และการบริจาคเลือดเป็นเรื่องที่ดี ยังมีอีกหลายคนที่อยากบริจาคแต่ทำไม่ได้ ถ้าคุณทำได้ ทำไมจะไม่ทำละครับ กับการทำดีที่ไม่เสียอะไรเลย และมีแต่ข้อดีครับ ไปแล้วครับเดียวจะเบื่อกันซะก่อน ….. ฟิ้ว ^^
สนใจการตรวจสุขภาพสอบถามได้ที่ healthlabclinic