เรามาต่อกันจากครั้งที่แล้ว เรื่องของจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ ไมโครไบโอม (microbiome) กันนะคะ เรามาดูกันว่าการประเมินสุขภาพด้วยการตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำได้อย่างไร มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง
การตรวจ ไมโครไบโอม (Microbiome) ตรวจหาอะไรบ้าง? และประเมินอย่างไร?
การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดทางสุขภาพ หาความสมดุลของจุลินทรีย์ระหว่างจุลินทรีย์หลัก จุลินทรีย์ไม่ดี และจุลินทรีย์ดี (โพรไบโอติกส์) เพื่อประเมินสุขภาพของคุณ โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้
- สมดุล : จุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณ อยู่ในเกณฑ์สมดุล คุณควรรักษาพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตในแบบที่ดำเนินอยู่ต่อไป
- เสียสมดุลเล็กน้อย : จุลินทรีย์เสียสมดุลเล็กน้อย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยง แต่อาจจะยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพทันที ควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตบางอย่าง
- เสียสมดุลปานกลาง : จุลินทรีย์เสียสมดุลปานกลาง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นแล้ว ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต
- เสียสมดุลมาก : จุลินทรีย์เสียสมดุลมาก ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่าปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว คุณควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง
หากตรวจเช็กจุลินทรีย์ในลำไส้แล้ว ผลการตรวจวัดจะบอกถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหรือไม่สมดุล มีรายละเอียดดังนี้
ความเสี่ยงต่ำ แสดงว่า ความชุกชุมสัมพัทธ์ของจุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณ อยู่ในเกณฑ์เดียวกันกับค่าเฉลี่ยของประชากรที่แข็งแรงโดยทั่วไป ความเสี่ยงในการเกิดอาการเจ็บป่วยค่อนข้างต่ำ คุณควรรักษาพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตในแบบที่ดำเนินอยู่
ความเสี่ยงปานกลาง แสดงว่า ความชุกชุมสัมพัทธ์ของจุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประชากร มีจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีน้อยกว่า และจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีมากกว่าปกติ ความเสี่ยงในการเกิดอาการเจ็บป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรปกติ คุณควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพจุลินทรีย์ในลําไส้ของคุณเป็นระยะ
ความเสี่ยงสูง แสดงว่า ความชุกชุมสัมพัทธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้คุณ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประชากรมีจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากกว่าประชากรโดยทั่วไป
เมื่อเราทราบความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ microbiome ของเราแล้ว เราสามารถนำมาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมถึงอาหารที่ควรรับประทาน การพักผ่อน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงต่อไปนะคะ
ในปัจจุบันมีการตรวจเช็กจุลินทรีย์ในลำไส้ (microbiome) ด้วยหลักการ qPCR ซึ่งได้ผลการตรวจที่ถูกต้อง แม่นยำ เก็บสิ่งส่งตรวจง่าย ๆ เพียงแค่เก็บอุจจาระไปทำการตรวจวิเคราะห์เท่านั้นเอง ใครสนใจลองหาที่ตรวจเช็กดูนะคะ ^^